ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

ลัวะ




ลัวะ Lua/Lawa

ประวัติความเป็นมา
                ลัวะหรือ ละว้า เรียกตัวเองว่า ละเวือะ (Lavu’a) จัดอยู่ในกลุ่มภาษาออสโตร-เอเชียติด สาขามอญ-เขมร เป็นกลุ่มชนพื้นเมืองเดิม ตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณอาณาจักรล้านนาโบราณ ก่อนพญามังรายจะสร้างเมืองเชียงใหม่กระจายตัวอยู่ในจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง อุทัยธานี สุพรรณบุรี และตาก โดยแบ่งเป็นกลุ่มตามภาษาได้ 2 กลุ่มคือ กลุ่ม Wa-Vu ใช้พูดกันในหมู่ลัวะเขตลุ่มแม่น้ำปิง เช่น บ้านบ่อหลวง อีกกลุ่มหนึ่งคือ กลุ่ม Angka ใช้พูดกันใน เขตอำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน
                ในประเทศไทยมีประชากรประมาณ 22,260 คน หรือ ร้อยละ 2.41 ของประชากรชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (2545)

ลักษณะทางสังคมวัฒนธรรมตามจารีต
                ขนาดหมู่บ้าน  หมู่บ้านประกอบด้วยครัวเรือน 20-80 หลังคาลักษณะบ้านเป็นแบบยกพื้น ใต้ถุงสูง
                ระบบครอบครัว  เป็นครอบครัวเดี่ยว ระบบการแต่งงานแบบผัว/เมียเดียว หลังจากแต่งงานแล้ว ฝ่ายหญิงจะต้องไปอยู่กับฝ่ายชาย บุตรคนสุดท้ายจะเป็นผู้รับมรดกและเลี้ยงดูพ่อแม่ตลอดชีวิต
                ระบบการปกครอง  มีผู้นำตามธรรมชาติ เป็นบุคคลที่มีลักษณะและความสามารถรอบรู้ในเรื่องเกี่ยวกับขนบธรรมเนียมประเพณีของชนเผ่าเป็นอย่างดี และมีความเสียสละเพื่อสังคม
                ระบบเศรษฐกิจ  เป็นเศรษฐกิจแบบยังชีพ ทำการเกษตรแบบไร้หมุนเวียนโดยจะปลูกข้าวเจ้าเป็นพืชหลัก ปลูกพืชอื่น ๆ ได้แก่ ข้าวโพด ถั่ว แตง พริก ผักต่าง ๆ ปลูกฝ้าย เพื่อใช้ทอผ้า ส่วนสัตว์เลี้ยงได้แก่ วัย ควาย หมู ไก่ สุนัข เพื่อใช้ในพิธีกรรม การบริโภค หรือบางอย่างเพื่อขาย
                ระบบความเชื่อ ชาวลัวะ นับถือพุทธศาสนาควยคู่กับการนับถือผีมาแต่เดิมเหมือนคนไทยพื้นราบ เชื่อเรื่องผี ว่ามีทั้งผีดีและผีร้าย ซึ่งสิงสถิตอยู่ตามที่ต่าง ๆ เช่น ผีเรือน  ผีฟ้า ผีป่า ผีภูเขา ผีประตูหมู่บ้าน ผีหมู่บ้าน โดยมีผู้นำทางพิธีกรรม ได้แก่ “ลำ” และ “สะมัง” ซึ่งเป็นผู้ที่มีคาถาอาคมและความรอบรู้ในพิธีกรรมต่าง ๆ
                ประเพณีที่สำคัญ ได้แก่ พิธีการเลี้ยงผีเสาสะกัง

2 ความคิดเห็น: