ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

เย้า




ชนชาติพันธุ์เย้า (เมี่ยน)

ประวัติความเป็นมา
                เย้า (เมี่ยน) ชนชาติเชื้อสายจีนเดิมเรียกตัวเองว่า เมี่ยน ซึ่งแปลว่ามนุษย์ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า เย้า ถิ่นเดิมอยู่ทางตะวันออกของมณฑลไกวเจา ยูนนาน หูหนาน และกวางสูประเทศจีน ต่อมาได้อพยพลงทางใต้ เข้าสู่เวียดนามเหนือ ตอนเหนือของลาว และทางตะวันออกของพม่า บริเวณรัฐเชียงตุง แล้วเข้าสู่ประเทศไทย เมื่อประมาณ 200 ปี กระจายตัวอยู่ในจังหวัดเชียงราย พะเยา น่าน เชียงใหม่ ลำปาง พิษณุโลก กำแพงเพชร และสุโขทัย มีจำนวนประชากรประมาณ 45,551 คน หรือ ร้อยละ 4.93 ของจำนวนประชากรชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (2545)

ระบบความเชื่อ
                ชาวเย้านับถือลัทธิบูชาบรรพบุรุษ และนับถือผีเทพยดาว่าเป็นผู้ทำหน้าที่ปกครองจักรวาล เรียกว่า ผีใหญ่ มีจำนวน 18 ตน โดยจำนวนนี้มี 3 ตน ที่มีความใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุด คือ “ฟามชิง” หรือ “ผีสามดาว” หมอผีซึ่งเป็นผู้รอบรู้ทางพิธีกรรม ทำหน้าที่ประกอบพิธีกรรม เป็นสื่อกลางระหว่างโลกมนุษย์กับโลกวิญญาณ

ประเพณีที่สำคัญ
1.             พิธีปีใหม่
2.             พิธีกว่าตั้ง (พิธีบวช)
3.             พิธีโต่ไซ (พิธีบวชใหญ่)
4.             พิธีเชียดเจียบเฝย (สารทเดือนเจ็ด)

ลักษณะทางสังคมวัฒนธรรมตามจารีต
ขนาดหมู่บ้าน หมู่บ้านโดยเฉลี่ยประมาณ 30 หลังคาเรือน ลักษษะบ้านแบบคร่อมดิน
ระบบครอบครัว  เป็นครอบครัวขยายทางฝ่ายชาย คือเมื่อบุตรชายแต่งงานจะนำภรรยาเข้ามาอยู่ในบ้านพ่อแม่ของตน วัฒนธรรมเย้า ยอมรับการมีภรรยาได้มากกว่า 1 คนในคราวเดียวกัน
ระบบการปกครอง  มีหัวหน้าหมู่บ้าน ซึ่งได้แก่ผู้นำก่อตั้งหมู่บ้านหรือผู้อาวุโสของวงศ์ตระกูลที่ใหญ่ที่สุดของหมู่บ้าน เป็นผู้มีอำนาจในการปกครองดูแลและตัดสินกรณีพิพาทต่าง ๆ
ระบบเศรษฐกิจ  ชาวเย้าทำการเกษตรแบบไร่เลื่อนลอยพืชหลักได้แก่ ข้าวไร่ ข้าวโพด ในอดีต ปลูกฝิ่น เป็นพืชเงินสดด้วยเลี้ยงหมู ไก่ เพื่อใช้ในพิธีกรรม และเลี้ยง ม้า ลา ฬอ เพื่อใช้เป็นพาหนะ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น