ลาวเวียง
ประวัติความเป็นมาของกลุ่มชาติพันธุ์ลาวเวียง (บ้านเนินขาม)
ประวัติความเป็นมา
ชาวลาวเวียง
(บ้านเนินขาม)
เป็นชุมชนไทเชื้อสายลาวเวียงมาจากเมืองเวียงจันทร์เข้ามาอยู่ในประเทศไทยในสมัยสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช
เมื่อปี 2325 สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น
ได้มีการอพยพครอบครัวชาวลาวเข้ามาอาศัยมากมายในพื้นที่จังหวัดภาคกลาง
ครั้งแรกตั้งบ้านเรือนอยู่ที่บ้านโข้งและบ้านขามอำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี
ต่อมาได้อพยพมาอยู่ ที่บ้านหนองแห้ว เป็นเวลาหลายสิบปี ก่อนที่จะมาตั้ง บ้านเรือน
อยู่ที่ตำบลเนินขาม อำเภอเนินขาม จังหวัดชัยนาท ในปัจจุบัน
คติความเชื่อชุมชนลาวเวียง (บ้านเนินขาม) นับถือศาสนาพุทธ พราหมณ์และผีบรรพบุรุษ
ตั้งแต่การประกอบอาชีพและในชีวิตประจำวันตั้งแต่เกิดจนตายจะมีพิธีกรรมที่สืบต่อกันมาเกี่ยวกับความเชื่อเหล่านี้ตั้งครั้งบรรพบุรุษ
พิธีกรรมความเชื่อ
1.
พิธีกรรมไถ่ตัวเป็นการไถ่ตัวจากภูตผีปีศาลและสิ่งที่ไม่ดีที่อยู่ในตัวเราให้
ออกไป จะกระทำในงานบุญกลางบ้าน
2.
พิธีกรรมสืบเคราะห์ต่อชะตาจะกระทำเมื่อดวงจะตาราศีไม่ดีหรือปีชง
3.
พิธีบายศรีสู่ขวัญ
จะกระทำงานบวชงานขึ้นบ้านใหม่ และในโอกาสที่มีแขกต่างบ้านมาเยือน
4.
พิธีขอฝน
เป็นการขอฝนจากสิ่งศักดิ์สิทธิ์ตามความเชื่อของชาวบ้านเนินขาม
จะกระทำในช่วงกลางเดือน 6
5.
พิธีกรรเสี่ยงทาย
(นางม้อง) เป็นการเสี่ยงทายตามความเชื่อของชาวบ้านเนินขาม จะกระในช่วงสงกรานต์
วัฒนธรรมด้านการทอผ้า
1.
กี่ หรือนูก
คือเครื่องมือที่ใช้ในการทอผ้าให้เป็นผืน
2.
ฟันหวี หรือพิม
เป็นเครื่องมือที่ใช้กระทบเส้นด้วยพุ่งให้ขัดกับเส้นด้ายยืนเป็นฝืนผ้า
3.
ตะกอ หรือเขาหูก
ใช้สำหรับแยกเส้นด้ายยืนออกเป็น 2 ฝ่าย เพื่อที่จะพุ่งกระสวยผ่านไป
4.
กระสวย
เครื่องมือใส่ด้วยเส้นพุ่งให้ขัดกับด้ายเส้นยืน
5.
หลอดด้าย
เครื่องมือใส่ด้าย/ไหมที่กรอแล้ว
6.
ไม้แป้นหูก
ไม้ที่นั่งของผู้ทอผ้า
7.
ไม้ไขว้
ไม้สำหรับม้วนผ้าที่ทอแล้ว
8.
ไม้คันผัง
ไม้สำหรับบังหน้าผ้าให้ตึงในขณะที่ทอผ้า
9.
ไม้กำพัน
ไม้สำหรับมั้วผ้าที่ทอแล้ว
10.
คานเหยียบ
ไม่สำหรับเหยียบบังคับเส้นด้ายยืดให้ขึ้นลง
11.
คานหาบหู สำหรับแขวนขอบฟืมและแขวนขอบตะกอ
วัตรธรรมขนบธรรมเนียมประเพณี
1.
ประเพณีบวชนาคโดยใช้ม้าเทียม
2.
ประเพณีงานบุญกลางบ้าน
3.
ประเพณีงานบุญข้าวจี่
4.
ประเพณีสารทลาว
5.
ประเพณีสงกรานต์
6.
ประเพณีแห่ข้าวพันก้อน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น