ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

ไตยวน



ไตยวน (ไต – ยวน)

ไตยวน (ไต – ยวน) เป็นกลุ่มชนชาติพันธุ์หนึ่งในตระกูลภาษา ไต – กะไดคือ ไตลื้อ ไตเขิน ชาวยอง คนไต และไต – ยวน รวมเรียกว่า เครือไต ไตยวนเป็นกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดมีภาษาพูดและภาษาเขียนเป็นของจนเอง กลุ่มเครือไตต่างใช้ภาษาพูดของไตยวนเป็นภาษากลางที่สื่อกันได้หมดเรียกว่า คำเมือง

ประวิติศาสตร์
                ตำนานโยนกนาคพันธุ์ ได้กล่าวว่า พ.ศ.639 พระเจ้าสิงหลวัติได้พาผู้คนจำนวนมากอพยพทางได้จากเมืองหนองแส น่านเจ้าต้าลีฟู ทางประเทศจีนตอนใต้ เพื่อแสวงหาที่ตั้งเมืองใหม่จนมาพบที่เมืองร้างเก่า ชื่อ สวรรโคมคำ (บริเวณที่ราบลุ่มเชียงแสนริมฝั่งแม่น้ำโขง) และได้ตั้งชื่อเมืองนี้ว่า โยนกนาคพันธุ์ ตั้งตนเป็นเจ้าเมืองลำดับที่ 1 ในราบวงศ์ สิงหลวัติ เรียกพลเมืองว่า ชาวโยนก
                วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ในอดีตชาวไทย มักจะเข้าใจว่าชาวล้านนามีภาษาและวัฒนธรรมใกล้เคียงกับชาวลาว จึงมีทัศนะว่าชาวล้านนาเป็นคนลาว ดังนั้นการปกครองแบบมณฑลเทศาภิบาล ในสมัยรัชกาลที่ 5 จึงจัดให้หัวเมืองล้านนาอยู่ในมณฑลพายัพหรือลาวเฉียงและมณฑลมหาราช จนเมื่อมีการรวมอำนาจเข้าสู่ส่วนกลางแล้ว ชาวไทยจึงได้หล่อหลอมให้ชาวล้านนาเป็นชาวไทย ชาวไตยวนมีจิตใจเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา เป็นคนใจบุญ เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ มีขนพธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมที่หลากหลาย

ประเพณีวัฒนธรรม ของไตยยวน
                ไตยวน มีนิสัยสันโดษ, รักสงบ, รักธรรมชาติ, เกื้อกูลต่อกัน, ผิวขาว เชื่อถือยกย่องในบรรพบุรุษ ศรัทธาและนับถือ พระพุทธศาสนา มีความเคารพและปฏิบัติอย่างเคร่งครัดตามกฎมังรายศาตร์
                ไตยวน มีภาษาพูดของตนเองเรียกว่า ฟู่อู้กำเมือง มีวรรณยุคเสียงสูง ต่ำ กลาง ซึ่งเป็นกรบอกถึงอารมณ์ได้เป็นอย่างดี มีภาษาอักษรเขียนเรียนว่า ตั๋วเมืองด

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น