ศูนย์เรียนรู้ชาติพันธ์ภาคเหนือ (พิพิธภัณฑ์ชาวเขา)
จังหวัดเชียงใหม่
วิสัยทัศน์
นำพาชาติพันธุ์ประเทศไทย
ก้าวไกลสู่สากล
ความเป็นมา
ศูนย์เรียนรู้ชาติพันธุ์ภาคเหนือ(พิพิธภัณฑ์ชาวเขา)
จังหวัดเชียงใหม่ เป็นหน่วยงานในสังกัด สำนักกิจการชาติพันธุ์ กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ
จัดตั้งเมื่อ ๙ กันยายน ๒๕๕๖ ตามความเรียกร้องของ กลุ่มชนเผ่าและชาติพันธุ์
หลังจากที่กองสงเคราะห์ชาวเขาได้ถูกยุบไปจากผลการปฏิรูประบบราชการ เมื่อปี ๒๕๔๕
เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลเชื่อมประสานกลุ่มชนเผ่าและชาติพันธุ์ ได้เผยแพร่และแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์
บทบาท/ภารกิจ
๑.
เป็นศูนย์กลางรวบรวมข้อมูลจาก
ศพส. ๒0 จังหวัด ที่รับผิดชอบงานชาติพันธ์บนพื้นที่สูง
๒.
เป็นศูนย์กลางเผยแพร่และแสดงอัตลักษณ์ชนเผ่าและชาติพันธุ์
๓.
เป็นศูนย์กลางจำหน่ายสินค้าและผลิตภัณฑ์ของชนเผ่า
๔.
ประสานการดำเนินงาน
ติดตามประเมินผลชุมชน
กรอบการดำเนินงาน
จัดตั้งคณะทำงานระดับกระทรวงผลักดันให้เป็นมติ
ครม. ๓ เรื่อง
๑.
กำหนดวันชาติพันธุ์
ประเทศไทย (๙ สิงหาคม ทุกปี)
๒.
แผนแม่บทชาติพันธุ์แห่งชาติ
การขับเคลื่อนใน ๕ มิติ
๑.
ด้านระบบข้อมูล
๒.
ด้านสิทธิ
๓.
ด้านอัตลักษณ์
๔.
ด้านการพัฒนา
๕.
ด้านการก้าวสู่สากล
กลุ่มเป้าหมายและพื้นที่ดำเนินการ
กลุ่มชาติพันธุ์บนพื้นที่สูงประกอบด้วย
ชนเผ่าปกาเกอญอ ม้ง เมี่ยน อาข่า ลาหู่ ถิ่น ลัวะ ขมุ มลาบลี(ตองเหลือง)
และชาติพันธุ์ย่อย ๒ กลุ่มคือ ดาราอั้ง(ปะหล่อง) ปะด่อง(กะเหรี่ยงคอยาว) ในเขต ๒0
จังหวัดบนชุมชนบนพื้นที่สูง
กิจกรรมดำเนินการ
๑.
เทศกาลสีสันชนเผ่า
๒.
ถนนชนเผ่า ฯลฯ
ซึ่งจะจัดตามเทศกาล
ปฏิทิน ประเพณีชนเผ่า กิจกรรมประกอบด้วยการจำหน่ายผลิตภัณฑ์ ดนตรี อาหาร
จำลองวิถีชีวิต คติความเชื่อ ประเพณี วัฒนธรรม ซึ่งแสดงอัตลักษณ์ ชนเผ่า
พิพิธภัณฑ์ชาวเขา
เป็นส่วนที่รวบรวม
งานวัตถุศิลป์สิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ ที่แสดงถึงอัตลักษณ์ วิถึสังคมขนบธรรมเนียม
วัฒนธรรมชนเผ่า ๑0 ชนเผ่า คือ ปกาเกอญอ ม้ง เมี่ยน ลีซู ลาหู่ อาข่า มลาบรี ถิ่น
ลัวะ และ ๒ ชาติพันธุ์ย่อย คือ ดาราอั้ง (ปะหล่อง) ปะด่อง (กะเหรี่ยงคอยาว)
จัดเป็น ๒ ส่วนคือ
๑.
พิพิธภัณฑ์ในอาคาร
(หอแดง) ประกอบด้วย
ชั้นที่ ๑
ห้องฉายภาพยนตร์มัลติมีเดียระบบจอโค้งเกี่ยวกับ ความรู้ทั่วไป เกี่ยวชนเผ่า
วิถีชีวิต ประเพณี วัฒนธรรม ตลอดถึงคติความเชื่อ หลากหลายที่น่าพิศวง
ชั้นที่ ๒
จัดแสดงวัตถุศิลป์ สิ่งของเครื่องใช้ เครื่องแต่งกาย หุ่นจำลองการใช้ชีวิตประจำวัน
แสดงถึงอัตลักษณ์ของชนเผ่า
ชั้นที่ ๓
เป็นห้องฉายภาพยนต์มัตติมิเดีย ระบบจอโค้งเกี่ยวกับพระราชกรณียกิจ
ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว และพระบรมวงศานุวงค์ที่มีต่อชนเผ่า
๒.
พิพิธภัณฑ์กลางแจ้ง
เป็นส่วนที่จัดแสดงจำลองหมู่บ้านของชนเผ่า
ขนาดเท่าของจริง เสมือนจริง ภายในที่อยู่อาศัย จัดแสดงวัตถุศิลป์
ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และโดยรอบแสดงระบบนิเวศวิทยา อาทิ ลานเต้นจะคึ ของลาหู่
ป่าเดปอ หรือ ต้นไม้สะดือของปกาเกอญอ ลกข่อทวาสะกดวิญญาณหรือประตูผีของชาวอาข่า
เป็นต้น
นอกจากนี้ยังใช้เป็นที่จัดกิจกรรมตามเทศกาลต่าง
ๆ ของชนเผ่า เช่น เทศกาลสีสันแห่งชนเผ่า ตลาดนัดชนเผ่า
ระเบียบการเข้าชมพิพิธภัณฑ์ชาวเขา
ข้อห้าม
๑.
ไม่จับต้องวัตถุศิลป์
๒.
ไม่ส่งเสียงดังทำความรบกวนผู้อื่น
๓.
ไม่ผลักผู้อื่นทำกิริยาคึกคะนองซึ่งอาจทำความเสียหายแก่วัตถุศิลป์ได้
๔.
ไม่นำอาหารเครื่องดื่มเข้าไปในบริเวณพิพิธภัณฑ์
ซึ่งก่อความสกปรกและส่งกลิ่น
๕.
ห้ามสูบบุหรี่โดยเด็ดขาด
เพื่อป้องกันอัคคีภัย
ข้อควรปฏิบัติ
๑.
จัดกลุ่มเดินเป็นระเบียบ
๑0-๒0 คน
๒.
ชมตามขั้นตอนตามโปรแกรมที่จัดไว้
๓.
หากมีข้อสงสัยให้ชักถาม
กัณฑรักษ์หรือเจ้าหน้าที่
๔.
หากไฟฟ้าดับให้อยู่กับที่ไม่ควรเคลื่อนไหวไป-มาจนกว่าเจ้าหน้าที่จะแก้ไขสถานการณ์
๕.
ควรปฏิบัติตามคู่มือเที่ยวชมหรือปฏิบัติตามที่เจ้าหน้าที่แนะนำ
เวลาเปิด – ปิด
ทุกวันตั้งแต่เวลา 0๙.00 – ๑๖.00 น.
หยุด เสาร์ – อาทิตย์ และวันหยุดนักขัตฤกษ์
ศูนย์เรียนรู้ชาติพันธุ์ภาคเหนือ
(พิพิธภัณฑ์ชาวเขา)
สวนล้านนา ร.๙ ถ.โชตนา ต.ช้างเผือก
อ.เมือง จ.เชียงใหม่ ๕0๓00 โทรศัพท์/โทรสาร 0๕๓-๒๑0๘๗๒
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น