ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

โส้




โส้

ประวัติความเป็นมา
                ชาวโส้อำเภอกุสุมาลย์มีต้นกำเนิดอพยพมาจากเมืองมหาชัยแขวงคำม่วน ประทศสาธารณรัฐประชาธิปไตย ประชาชนลาวตั้งบ้านเรือนทำมาหากินอยู่แถบฝั่งแม่น้ำโขงและรอบเมืองสกลนครในรัชกาลที่ 3 ปี พ.ศ. 2387 โปรดเกล้าให้ตั้งบ้านประขาวพันนาและบ้านกุสุมาลย์ โดยหลวงอรัญอาสาเป็นเจ้าเมืองกุสุมาลย์ รัชกาลที่ 4 จึงโปรดเกล้าให้ท้าวขัตติยะเป็นพระยาไพศาลเสนานุรักษ์ เป็นเจ้าเมืองโพธิไพศาลนิคม (ต้นสกุลรันพิศาล) และขึ้นกับเมืองสกลนครอีกกเมืองหนึ่ง ภายหลังเมื่อมีการปรับปรุงรูปแบบของการปกครอง หัวเมืองในรัชกาลที่ 6 ในพ.ศ. 2457 หัวเมืองในรัชกาลที่ 6 ในพ.ศ. 2457 หัวเมืองสำคัญ เช่น เมืองกุสุมาลย์มณฑล เมืองโพธิไพศาลนิคม จึงถูกลดฐานะ ลงเป็นเพียงตำบลเท่านั้นจนถึงปัจจุบัน

วัฒนธรรมและประเพณี
                ประเพณีการละเล่นของแต่ละกลุ่มชนต่าง ๆ นั้นบ่งบอกถึง วิถีชีวิต ความเชื่อ ภูมิปัญญาซึ่งชาวโส้มักจะเชื่อเรื่องผี จึงมีพิธีกรรมต่างที่เกี่ยวข้องกับผีดังนี้ พิธีเหยา เพื่อนบูชาหรือบวงสรวงผี พิธีบวงสรวงผีปู่ตา พิธีซางกะมูจ พิธีตัดกรรม พิธียาชะลา พิธีแซงซะนาม พิธีกรรมการเสี่ยงทาย อาการเจ็บป่วย ประเพณีอะบรางดง (กินข้าวใหม่) ช่วงประมาณเดือน 11 ของทุกปี

การละเล่น
                การละเล่นของชาวโส้ มักจะประยุกต์จากพิธีกรรมต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับความเชื่อและวิถีชีวิตที่มีความสนุกสนาม ความสามัคคี ในชุมชน การละเล่นที่เป็นเอกลักษณ์ของชาวโส้มีดังนี้ การรำโส้ทั้งบั้ง เป็นการละเล่นที่ประกอบไปด้วย นักดนตรี กลอง แคน พิณ นางรำที่ใช้ไม้ไผ่กระทุ้งให้เข้าจังหวะกับคนตรี การเล่นลายกลอง เป็นการละเล่นที่มีการผสมผสานลีลาของการรำมวยและตีกลองให้เข้าตามจังหวะ มักจะเล่นในงานบุญประเพณีต่าง ๆ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น