ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

กะเหรี่ยง



กะเหรี่ยง

ประวัติความเป็นมา
                ชนเผ่ากะเหรี่ยง หรือที่เขาเรียกตัวเองว่าปกาเกอะญอ ในเขตอุทยานแห่งชาติดอยอินทนนท์ มีอยู่หลายหมู่บ้าน ตั้งแต่หมู่บ้านเล็ก ๆ ไปจนถึงหมู่บ้านขนาดใหญ่ 30-40 หลังคาเรือน บางหมู่บ้านการสัญจรไปมาค่อนข้างลำบาก ไม่มีทางที่รถยนต์จะเข้าถึง นับถือศาสนาพุทธและคริสต์ พุทธหรือผีเป็นแบบเดียวกัน คือยังคงประเพณีที่เป็นมาดั้งเดิมแบบในอดีต พิธีกรรมการเลี้ยงผีจะเลี้ยงก็ต่อเมื่อคนในครอบครัวมีอาการเจ็บป่วยไม่สบาย จะเป็นไก่เป็นหมูขึ้นอยู่กับขวัญของแต่ละคน โดยมีหมอผีประกอบพิธีกรรมและรักษาโรค

การปกครอง
                การปกครองในหมู่บ้านกะเหรี่ยงจะมี 3 ฝ่าย คือ หัวหน้าหมู่บ้าน หมอผี และกลุ่มอาวุโส หัวหน้าหรือผู้นำหมู่บ้านจะเรียกว่า ฮีโข่ ซึ่งมีการสืบทอดสาเลือดมาทางบิดาสำหรับหมอผีจะมีหน้าที่ประกอบพิธีกรรมรักษาโรค ส่วนกลุ่มผู้อาวุโสจะเป็นผู้ที่รักษากฎจารีตประเพณี ตัดสินคดีความและเป็นที่ปรึกษาให้กับหัวหน้าหมู่บ้านประเพณีและวัฒนธรรมในเผ่า ประเพณีปีใหม่ ประเพณีขึ้นบ้านใหม่ ประเพณีเกี้ยวสาว ประเพณีแต่งงาน และประเพณีงานศพ 

การแต่งงาน
                สำหรับเรื่องคู่ครองของกะเหรี่ยง จะยึดหลักการครองเรือนแบบผัวเดียวเมียเดียว โดยตามประเพณีจะห้ามไม่ให้หญิงชายถูกเนื้อต้องตัวกันก่อนที่จะแต่งงาน เพราะถือเรื่องความบริสุทธิ์ทางเพศเป็นสิ่งสำคัญ หากมีการฝ่าฝืนจะถูกลงโทษโดยการปรับไหมหรือถ้ามีชู้ผิดลูกผิดเมียคนอื่นจะมีโทษถึงขั้นไล่ออกไปจากหมู่บ้านทันที สำหรับหญิงกะเหรี่ยงที่แต่งงานแล้วหรือยังไม่ได้แต่งงาน เราจะสังเกตได้จากการแต่งกาย ถ้าหญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานจะสวมชุดขาวทรงกระสอบสีขาวล้วน ส่วนหญิงที่แต่งงานแล้วจะสวมชุด 2 ท่อน คือ นุ่งผ้าชิ่นและใส่เสื้อครึ่งท่อน จึงแยกแยะได้อย่างชัดเจน ระหว่างหญิงโสดกับหญิงที่แต่งงานแล้ว
               
อาชีพ
กะเหรี่ยงยังชีพด้วยการทำไร่ ทำนา มีความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายอาหารจากป่าในแต่ฤดูกาลโดยเฉพาะช่วงหน้าฝนอาหารการกินจะอุดมสมบูรณ์มาก มีเห็ด หน่อไม้ และผักนานานชนิดที่หาได้จากป่า เป็นอาหารที่ปลอดสารพิษด้วยเหตุนี้ชาวกะเหรี่ยงจึงมีผิวสวยใสโดยเฉพาะผู้หญิง ว่ากัน ว่าสมัยก่อนมีแค่เกลือก็ดำรงชีพได้แล้วด้วยความเป็นอยู่ที่เรียบง่ายอัธยาศัยของกะเหรี่ยงจึงเป็นมิตรและอ่อนโยน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น