ถิ่น Htin
ประวัติความเป็นมา
ถิ่น
จัดอยู่ในกลุ่มตระกูลออสโตร-เอเชียติก สาขามอญ-เขมร อพยพมากจากแขวงไชยบุรี
ประเทศลาว เข้าสู่ประเทศไทยทางจังหวัดน่าน
เชื่อกันว่าเป็นชนเผ่าพื้นเมืองดั้งเดิมของ จังหวัดน่าน
ซึ่งมีการตั้งถิ่นฐานอยู่อย่างหนาแน่นในเขตอำเภอบ่อเกลือ บัว และทุ่งช้าง
มีประชากรประมาณ 42,657 คน หรือร้อยละ 4.36 ของจำนวนประชากรชาวไทยภูเขาในประเทศไทย
มี 2 กลุ่มย่อยคือ ถิ่นคมาล หรือมาล(Mal) และถิ่น คลำปรัย หรือ ปรัย(Prai)
ระบบเศรษฐกิจ
เป็นการเกษตรแบบยังชีพ
พืชหลัก ได้แก่ ข้าวเหนียว ปลูกข้าวโพด ข้างฟ่าง และพืชผักต่าง ๆ เป็นพืชรอง
อาชีพเสริม ได้แก่ การหาของป่า (ใบชาทำเมี่ยง) การล่าสัตว์ และการรับจ้างในไร่
มีการเลี้ยง ไก่ หมู เพื่อใช้ในพิธีกรรม เลี้ยงสุนัข ช่วยในการล่าสัตว์และการรับจ้างในไร่
มีการเลี้ยง ไก่ หมู เพื่อใช้ในพิธีกรรม เลี้ยงสุนัข ช่วยในการล่าสัตว์ เลี้ยงวัว
ควาย เพื่อขายหรือให้เช่าไถนา
บางหมู่บ้างแถบตำบลบ่อเกลือเหนือ
และบ่าเกลือใต้ มีการทำเกลือเพื่อขายในหมู่บ้านใกล้เคียง เพื่อเป็นรายได้อีกด้วย
ความสามารถเฉพาะอีกอย่างหนึ่ง
คือการจัดสานเสื่อหญ้าสามเหลี่ยม โดยนำหญ้าสามเหลี่ยมมาสานผสมกับใบตอบจริง
ทำให้มีลวดลายที่สวยงาม
ระบบความเชื่อ
ชาวถิ่น
มีความเชื่อในเรื่องไสยศาสตร์ นับถือผี เช่นผีบรรพบุรุษ (ปรองเจิง-ผีเรือน)
ผีหมู่บ้าน (ปรองงวล) ผีไร่ (ปรองแซ) และผีเจ้าที่ (ปรองเจ้าตี้)
ประเพณีที่สำคัญ
พิธีกินดอกแดง
(ปีใหม่-กลุ่มปรัย) พิธีสโลด (เรียกขวัญข้าว-กลุ่มมาล)
ลักษณะทางสังคมวัฒนธรรมตามจารีต
ขนาดหมู่บ้าน โดยเฉลี่ยประมาณ 30-50 หลังคา
บ้านเป็นแบบยกพื้น
ระบบครอบครัว/เครือญาติ เป็นครอบครัวเดี่ยว หลังจากแต่งงานแล้ว
ฝ่ายชายต้องไปอยู่ในบ้านฝ่ายหญิง ยึดถือระบบผัว/เมียเดียว
การนับญาติให้น้ำหนักทางฝ่ายบิดาและมารดาเท่ากัน
ระบบการปกครอง มีหัวหน้าหมู่บ้าน
ที่ได้รับการคัดเลือกจากตระกูลใหญ่
และอาจได้รับการแต่งตั้งจากทางราชการให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้ปกครองสูงสุด
นอกจากนี้ยังมีเจ้าฮีต หมอผีและคณะผู้อาวุโสเป็นคณะกรรมการของหมู่บ้าน
โดยใช้กฎระเบียบประเพณี ขนบธรรมเนียมของหมู่บ้านที่ถือปฏิบัติสืบต่อกันมา ซึ่งเรียกว่า
รีตหรืออีก เป็นกฏหมายของหมู่บ้าน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น