ลาหู่ LAHU
ประวัติการตั้งถิ่นฐาน
ชนเผ่าลาหู่
มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศธิเบต และเคยมีอาณาจักรเป็นของตนเองในดินแดนที่เรียกว่า
“ดินแดนแห่ง 11 หัวหน้าชนเผ่า” โดยมีเมืองหลวงชื่อ “ลิเซียง กาซี”
อยู่ในมณฑลยูนนวนของประเทศจีน ต่อมาได้ถอยลงสู่ประเทศพม่า ลาว และได้เคลื่อนย้ายเข้าสู่ประเทศไทย
บางบ้านต้นน้ำแม่มาว ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่
ปัจจุบันมีการกระจายอยู่ใน 7 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงราย
เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน ตาก กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์ มีจำนวนประชากรประมาณ
102,287 คน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้แก่ ลาหู่ญี ลาหู่นะ ลาหู่เซเล
ลาหู่ซีบาเกียว ลาหู่ซีบาหลา ลาหู่แฮะก๊าย ลาหู่ก๊าย ลาหู่ฟู และลาหู่กู่เลา
เป็นต้น
ระบบครอบครัวและเครือญาติ
ครอบครัวของชนเผ่าลาหู่เป็นครอบครัวขยายจะมีบ้างที่เป็นครอบครัวเดี่ยว
มีหัวหน้าครัวเรือนเพียงคนเดียวและทุกคนจะต้องเชื่อฟังและเคารพต่อหัวหน้าครัวเรือน
การนับญาตินั้นจะนับญาติทางสามีและภรรยาเข้าด้วยกัน
โครงสร้างการปกครองและสังคม
โครงสร้างสังคมชนเผ่าลาหู่จะประกอบด้วย
3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่หนึ่ง อาดอ (คะแซ) คือผู้นำหมู่บ้าน ส่วนที่สอง โตโบ คือ
พระหรือนักบวช ทำหน้าที่สั่งสอนคนให้เป็นคนดี และส่วนที่สามสาหลี๋
คือช่างตีเหล็กมีหน้าผลิตเครื่องมือการเกษตร
ชนเผ่าลาหู่เชื่อว่าหากหมู่บ้านใดไม่มี 3 ส่วนดังกล่าว
ถือว่าเป็นหมู่บ้านที่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถเป็นหมู่บ้านที่ใหญ่และมั่นคงต่อไปได้
ชนเผ่าลาหู่ให้ความนับถือผู้อาวุโสทั้ง 3
ส่วน นี้มากและทุกปีคนในหมู่บ้านทุกครัวเรือนจะไปทำงานให้ครอบครัวของผู้อาวุโสทั้ง
3 ส่วนนี้
เพื่อเป็นการตอบแทนที่ช่วยดูแลให้เกิดความสงบสุขในหมู่บ้านด้านการปกครองชนเผ่าลาหู่
จะใช้รูปแบบของจารีตประเพณี เช่น
เมื่อมีการร้องเรียนหรือข้อพิพาทผู้นำหมู่บ้านจะเชิญหัวหน้าครอบครัวทุกหลังคาเรือนมาประชุมเพื่อชี้แจง
ปรึกษาและตัดสินคดีข้อพิพาท
ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรมต่าง ๆ
ชนเผ่าลาหู่นับถือ
(กื่อซา) กื่อซา คือพระเจ้าซึ่งมีความเชื่อว่า เป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามทั้งหลายในโลกนี้
เป็นผู้ที่ทำให้เรามีความสุขและบันดาลสรรพสิ่งต่าง ๆ ให้แก่เรา
ถ้าหากเราทำผิดหรือทำสิ่งไม่ดีก็จะถูกลงโทษได้
แล้วยังมีผีเรือนและผีหมู่บ้านที่ล่าหู่นับถือ
และเชื่อว่าผีเรือนจะทำหน้าที่ป้องกันภัยให้แก่คนในบ้าน สำหรับผีร้ายที่ลาหู่เกรงกลัวนั้นมีมากมายเช่น
ผีฟ้า ผีป่า ผีเขาหลวง เป็นต้น
การทำมาหากิน และวิถีการผลิตพื้นบ้าน
ในอดีต
ชนเผ่าลาหู่ประกอบอาชีพการเกษตรเพื่อบริโภค พืชที่นิยมปลูกได้แก่ ข้าว ข้าวโพด งา
และพริก เป็นต้น ระบบการทำไร่นั้นจะเป็นการทำไร่แบบหมุนเวียน
ไร่หนึ่งผืนจะใช้ประโยชน์ประมาณ 3 ปี หลังจากนั้นจะทิ้งไว้ประมาณ 10 – 15 ปี
แล้วหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง แต่ในปัจจุบัน
เนื่องจากมีจ้อจำกัดในเรื่องที่ดิน จึงได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ
เป็นการผลิตที่มุ่งเน้นเพื่อการค้ามากขึ้น
นอกจากนั้นแล้วยังมีการเลี้ยงสัตว์ไว้ใช้งานและใช้ประกอบในพิธีกรรมต่าง ๆ ได้แก่
ไก่ สุกร ม้า และวัว เป็นต้น
มรดกทางวัฒนธรรม
ชนเผ่าลาหู่เป็นชนเผ่าหนึ่งที่มีมรดกทางวัฒนธรรมที่ดีงาม
มากมายไม่แพ้เผ่าอื่น ๆ เช่น ภาษา การแต่งกาย วิธีการหาปลา หัตถกรรม
ศิลปะการแสดงและดนตรี สิ่งที่โดดเด่น และเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปได้แก่
การเป่าแคน และเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปได้แก่ การเป่าแคน และการเต้น คือองค์ความรู้ภูมิปัญญาเหล่านี้ชาวลาหู่ได้มีการสืบทอดถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามวิถีชีวิต
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น