ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

ชนชาติพันธุ์ขมุ



ชนชาติพันธุ์ขมุ

ประวัติความเป็นมา
                ชาวขมุ จัดอยู่ในกลุ่มตระกูล ออสโตร – เอเชียติก สาขามอญ – เขมร เป็นชนพื้นเมืองดั้งเดิมของอาคเนย์ พบว่าขมุแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย คือ ขมุฮอก และ ขมุลื้อ ในปัจจุบัน ขมุกระจายตัวอยู่ทางประเทศลาวตอนเหนือ โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในแขวงหลวงพระบาง สำหรับในประเทศไทยนั้น ขมุ มีอยู่อย่างหนาแน่นในจังหวัดน่าน นอกจากนั้นมีอยู่ในจังหวัดเชียงราย ลำปาง เชียงใหม่ สุโขทัยและอุทัยธานี มีประชากรประมาณ 10,573 คน หรือร้อยละ 1.41 ของจำนวนประชากรชาวไทยภูเขาในประเทศไทย (2545)
                นอกจากนี้ ชาวขมุยังจัดได้ว่าเป็นพวกที่มีความชำนาญในเรื่องการ ทำไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งการเลื่อยไม้ ทั้งนี้เป็นมาจากการที่ ได้มีโอกาสเป็นลูกจ้างทำไม้ของบริษัทชาวอังกฤษและฝรั่งเศส ที่เข้ามาทำอุตสาหกรรมป่าไม้ในประเทศไทย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2429 เป็นต้นมา
                ชีวิตความเป็นอยู่ สร้างบ้านยกพื้นและพื้นบ้านมี 2 ระดับ บ้านส่วนใหญ่จะมีห้องนอนเดียว ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบบ้านกับลักษณะโครงสร้างของครอบครัว

ระบบความเชื่อ
                ชาวขมุ นับถือผี ได้แก่ผีประจำบ้าน (โฮร่ยก้าง) ผีหลวง (โอร่ยน่ำ) และผีหมู่บ้าน (โฮร่ยกุ้ง) ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของหมู่บ้าน และในแต่ละหมู่บ้านจะมีผู้นำทางศาสนา “ขะจ้ำ” เป็นผู้นำในการประกอบพิธีกรรม

ประเพณีที่สำคัญ
                พิธีเลี้ยงผีหลวง พิธีเลี้ยงผีหมู่บ้าน พิธีกินดอกแดง (ปีใหม่)  พิธีส่งเคราะห์  ขมุมีความเชื่อเรื่องขวัญว่า คนเรามีขวัญเก้าขวัญ คนที่เจ็บป่วยเพราะขวัญออกจากร่างไป การเรียกขวัญให้กลับคืน ต้องเชิญหมอขวัญมาทำพิธีเรียกขวัญ

ลักษณะทางสังคมวัฒนธรรมตามจารีต
                ระบบครอบครัว / เครือญาติ  เป็นครอบครัวเดี่ยว ยึดถือระบบผัว/เมียเดียว การนับญาติให้น้ำหนักทางฝ่ายบิดาและมารดาเท่ากัน
                ระบบการปกครอง  มีหัวหน้าหมู่บ้านที่ได้รับการคัดเลือกจากตระกูลใหญ่ และอาจได้รับการแต่งตั้งจากทางราชการให้เป็นผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้ปกครองสูงสุด
                ระบบเศรษฐกิจ  ชาวขมุส่วนใหญ่ หาเลี้ยงชีพโดยการทำการเกษตรแบบไร่หมุนเวียน คือกลับมาทำซ้ำที่เดิมอีก หลังจากนี้ปล่อยให้พื้นที่พักตัว 1-3 ปี พืชหลัก ได้แก่ ข้าวเหนียว สำหรับบริโภค และข้าวโพด ใช้เลี้ยงสัตว์ ปลูกพืชสวนครัวจำพวกเครื่องเทศ เช่น พริก หอม กระเทียม ตะไคร้ ข่า ขมิ้น เป็นต้น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น