ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

ชาวบนหรือญัฮกุร



ชาวบนหรือญัฮกุร
               
ประวัติความเป็นมา
ญัฮกุรหรือชาวบน เป็นชนกลุ่มน้อยกลุ่มหนึ่งซึ่งเรียกตัวเองว่า “ญัฮกุร” แปลว่าคนภูเขา ในขณะที่คนอื่น ๆ เรียกเขาว่า “ชาวบนหรือคนดง” ชาวบนมีถิ่นอาศัยอยู่บริเวณ เทือกเขาเพชรบูรณ์ มีภาษาพูดและวัฒนธรรมเป็นของตนเอง ภาษาพูดอู่ตระกูลมอญโบราญและภาษาเขมร ชาวญัฮกุร เป็นกลุ่มชนดั้งเดิมของเอเชียอาคเนย์ ปัจจุบันพบในเขตจังหวัดนครราชสีมา ชัยภูมิและเพชรบูรณ์ การศึกษาภาษาศาสตร์เชิงประวัติชี้ให้เห็นว่าภาษา ญัฮกุร (ในปัจจุบัน) จัดอยู่ในตระกูลมอญ เป็นภาษาซึ่งแตกต่างเป็นคนละภาษากับภาษามอญในปัจจุบันมีความคล้ายคลึงกันเป็นอย่างมากกับภาษามอญโบราณ ซึ่งเป็นภาษากลางและปรากฏในจารึกสมัยทวาราวดีซึ่งมีอายุกว่า 2000 ปี จึงทำให้เชื่อได้ว่าคนญัฮกุร อาจเป็นลูกหลานของคนในสมัยทวาราวดี “ดิฟโฟลด, 2527”
                ปัจจุบันชาวญัฮกุร ที่ยังดำรงรักษาและวัฒนธรรมพื้นบ้าน พบหนาแน่นในอำเภอเทพสถิต จังหวัดชัยภูมิ โดยยังคงมีการใช้ภาษาญัฮกุร มีการสืบสานวัฒนธรรมพื้นบ้าน เช่นดนตรีและเพลงพื้นบ้านปะเร่เร (การเล่นกรแจ๊ะ) การเล่นสะบ้า การทำหอดอกผึ้ง การทอเสื่อหวาย การทำเสื้อพ็อก ตำรับอาหารและตำรับยาที่ยังมีการสืบทอดจากบรรพบุรุษเรื่อยมา ที่ยังคงเอกลักษณ์ของชาวญัฮกุรอยู่ในปัจจุบัน
                แต่อย่างไรก็ตามกระแสโลกในปัจจุบันก็ทำให้ภาษาและวัฒนธรรมญัฮกุรประสบปัญหาการถดถอยเช่นเดียวกับภาษชาติพันธุ์ย่อยอื่นอีกหลายกลุ่มในประเทศไทย ท่ามกลางการพัฒนาประเทศที่ใช้ความเจริญก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์เทคโนโลยี ตลอดจนแนวคิดทางเศรษฐกิจระบบทุนนิยมนั้นความหลากหลายในวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ต่าง ๆ เริ่มสลายกลมกลืนไปกับกระบวนการเปลี่ยนแปลงให้ทันสมัย ในตรงกันข้ามกับชาวมอญโบราญ (ญัฮกุร) ในบ้านน้ำลาดมีชาวบนอาศัยอยู่ประมาณ 110 ครอบครัว กลับมีแนวคิดที่จะธำรงเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของตนไว้ในสภาพการเปลี่ยนแปลงเช่นนี้ โดยอาศัยสายสัมพันธ์ที่เคยมีมาเป็นเครื่องปลูกฝังความเป็นตัวตนในหมู่บ้านเดียวกัน เช่น ภาษา ศาสนา การแต่งกาย ประเพณี พิธีกรรมและการดำรงชีวิตเป็นต้น

ประเพณีและความเชื่อ
                ประเพณีการเกิด การคลอดบุตรของชาวบนจะอาศัยหมดตำแย และมีการบนบานผีปู่ย่าตากยากช่วยในการคลอดบุตร
                ประเพณีเลี้ยงผีปู่ตา ชาวบนจะมีพิธีเลี้ยงผีปู่ตา ประมาณเดือน 5 และเดือน 6 จะมีการนำเอาไม้มาทำเป็นรูปต่าง ๆ เช่น ช้าง ม้า วัว ควาย ดาบ ปีน ไว้ที่ศาลเครื่องดนตรี เช่น โทน แคน ปี่แก้ว และ เครื่องเซ่นได้แก่ ข้าวดำ ข้าวแดง ไข่ต้ม ดอกไม้ ธูปเทียน ยาสูบ ผ้าแพร ผ้าไหม โดยชาวบ้านจะมารวมตัวกันที่ศาล จะเชิญคนทรง พอผีเข้าหมดทรงจะฟ้อนรำ และกินเครื่องเซ่นไหว้
                ประเพณีแห่หอผึ้ง ชาวบนจะมีบุญประเพณีแห่หอผึ้งในเดือน 5 ของทุกปี เพื่อเป็นการระลึกถึงบุญคุณของผึ้งที่ให้ประโยชน์แก่ชาวบน เป็นทั้งอาหาร และแสงสว่าง
                จะป๊อก ถือเป็นความเชื่อของชาวบน เป็นการรักษาผู้ป่วยแบบพื้นบ้าน
สภาพปัญหาด้านภาษา และวัฒนธรรมชาว ญัฮกุร
                ความเชื่อมั่นในภาษาและวัฒนธรรมของตนเองลดลง รับเอาวัฒนธรรมจากคนอีสาน ภาษาที่เป็นของคนญัฮกุรใช้น้อยลง ภาษาพูดของตนเองมีการพูดเพี้ยงไปจากเดิม วัฒนธรรมพื้นบ้าน อันได้แก่ การรำพื้นบ้านชาวญัฮกุร ดนตรีพี้นบ้านชาวญัฮกุร การเล่นกระแจ๊ หรือปะเรเร การเย็บเสื่อพื้นเมือง บุญประเพณีแห่หอดอกผึ้ง ที่เป็นเอกลักษณ์ ขาดความเชื่อมั่นจากปัญหาดังกล่าวกลุ่มผู้นำได้ร่วมกันคิดเพื่ออนุรักษ์และฟื้นฟูวัฒนธรรมพื้นบ้านดังกล่าวเพื่อสร้างความเชื่อมั่นใจความตระหนักในคุมค่าของประเพณีของตนเอง อีกทั้งยังเป็นการสืบทอดสิ่งที่ดีงามสู่เยาวชนและลูกหลานต่อไป

ตำรับอาหารพื้นบ้านเพื่อสุขภาพของชาวญัฮกุร
เมี่ยง
ส่วนประกอบ
1.             มะเขือกบ 10 ลูก
2.             มะเขือเครือ/มะอึก 5 ขีด
3.             ตะไคร้ 5 ต้น
4.             กุ่ยฉ่าย (ผักแป้น 3 กำมือ)
5.             ใบถั่ว 100 ใบ
6.             ถั่วฝักยาว 15 ฝัก
7.             ใบทูน (ทูน) ก้าน 100 ใบ
8.             ใบขิง 2 กำมือ
9.             หัวขิง 2 หัว
10.      มันเทศ 2 หัว
11.      พริกขี้หนูสด 1 ถ้วย
12.      กล้วยน้ำหว้าดิบ 5 ลูก
13.      เกลือ 1 ถ้วย
วิธีทำ
                เตรียมส่วนประกอบมาล้างให้สะอาดปล่อยทิ้งไว้ให้สะเด็ดน้ำ หั่นมะเขือกบ ถั่ว ตะไคร้ หัวขิง กล้วยดิบ มันเทศ และใบขิงเป็นชิ้น ๆ เตรียมไว้เป็นชุด จัดใส่ภาชนะให้ดูสวยงาม ตัดหรือฉีกใบทูน และใบถั่ว เป็นชิ้นสี่เหลี่ยม เพื่อใช้สำหรับห่อ เตรียมเกลือใส่ถ้วยเล็กวางไปตรงกลาง จะทำให้ดูสวยงามยิ่งขึ้น ห่อใบทูนให้เป็นกระทงก้นแหลม นำกล้วยดิบคลุกกับเกลือให้ทั่วตามด้วยผักที่เตรียมไว้อย่างละชิ้น หรือตามความต้องการพอดีสำหรับคำ ซึ่งผักแต่ละชนิดจะมีรสชาติที่แตกต่างกันออกไป พันด้วยผักกุ่ยฉ่าย (ผักแป้น) จะทำให้มีรสชาติที่หวานหอมขึ้นเวลารับประทาน
คุณค่า / ประโยชน์
-                   เป็นอาหารว่าง เป็นยาระบายแก้ท้องผูก
-                   สมานแผลในกระเพาะอาหาร
ข้อห้าม
-                   ผู้หญิงหลังคลอด และกำลังอยู่ไฟห้ามทาน เพราะจะทำให้เลือดไหลไม่หยุด
-                   คนเป็นไข้ห้ามรับประทาน

มะเขือโขลก (ปะตะอองโคลก)
                เจ้าของสูตร นายตี๋ กลางจัตุรัส บ้านเลขที่ 42 บ้านน้ำลาด ต. เทพสถิต จ.ชัยภูมิ
ส่วนประกอบ
1.)        มะเขือ 5 ผล
2.)        พริกสด 5 เม็ด
3.)        หัวข่า 4-5 ชิ้น
4.)        กระเทียม 2 กลีบ
5.)        ใบหอมสด 2 ต้น
6.)        ใบโหรพา 2 – 3 ยอด
7.)        มะเขือเทศลูกเล็ก 4 ผล
8.)        น้ำปลาร้าสุก 3 ช้อนโต๊ะ
9.)        เนื้อปลาดุก
10.) น้ำปลา
11.) ใบยี่หร่าหรือใบผักชีหล่า 3-4 ใบ
12.) ข้าวคั่ว 1 ช้อนโต๊ะ
13.) มะเขือเผาพอสุกปลอกออก
14.) คั่วพริกสดพอสุก
15.) หั่นข่าเป็นชิ้น ๆ
16.) กระเทียมเผาสุก
วิธีทำ
1.)        น้ำพริก, หัวข่า, กระเทียม, เกลือเล็กน้อย ตำให้เข้ากัน
2.)        จากนั้นนำมะเขือที่ปอกโขลกใส่เนื้อปลาให้เข้ากัน แล้วตามด้วยใบยี่หล่า ข้าวคั่ว, มะเขือเทศ, ใบโหระพา จากนั้นก็โขลกให้เข้ากัน
3.)        ตักใส่ชามนำน้ำปลาร้ากับน้ำปลาใส่ ปรุงคนให้เข้ากัน ก็รับประทานได้
คุณค่าคุณประโยชน์
                ช่วยการทำงานของสมอง ช่วยความจำ ลดความอ่อนเปลี้ยของสมอง กินเป็นประจำจะช่วยให้เส็นเลือดไม่เปราะ ป้องกันโรคความดันโลหิตสูง และโรคลักปิดลักเปิด ช่วยการย่อยอาหาร ช่วยฟอกเลือด ลดความดันโลหิต บำรุงหัวใจ บำรุงตับ ช่วยความจำ บำรุงผิว แก้แผลร้อนในปาก

ตำหัวปลี
ส่วนประกอบ
1.)        หัวปลีกล้วยน้ำหว้า 1 หัว
2.)        น้ำปลาร้า 2 ช้อนโต๊ะ
3.)        มะเขือขน 5 ผล
4.)        กระเทียม 5 กลีบ
5.)        น้ำตาล 2 ช้อนชา
6.)        พริกสด 7 เม็ด
วิธีทำ
                ปอกหัวปลีเอาแต่ส่วนที่ขาว สับหัวปลีเป็นชิ้นเป็นสับเหมือนมะละกอ ตำพริก ตำกระเทียม นำหัวปลีใส่โครกตำให้เข้ากันตามด้วยมะเขือขน หรือมะขามเปือกน้ำตาล และน้ำปลาร้า ตำให้เข้ากันซิมแล้วตักออกใส่จานรับประทานได้
คุณค่าคุณประโยชน์
                ตำหัวปลี เป็นตำรับอาหารที่ช่วยแก้โรคลำไส้ โรคโลหิตจาง ลดน้ำตาลในเลือด เหมาะสำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน แก้ร้อนใน และช่วยสร้างน้ำนมในหญิงมีครรภ์ ช่วยควยคุมความดันโลหิต แก้โรคโลหิตจาง
ห้อห้าม
                คนไข้ห้ามกินจะผิดไข้

ตำทูน
ส่วนประกอบ
1.)        ทูน 3 ก้าน
2.)        มะเขือขน
3.)        น้ำปลาร้า 3 ช้อน
4.)        หัวขิง 1 หัว
5.)        พริกสุก 5 เม็ด
6.)        น้ำปลา 2 ช้อน
วิธีทำ
                เตรียมเครื่องให้พร้อมนำก้านทูนปอกเอาเปลือกล้างน้ำให้สะอาดหันเป็นชิ้นพอสมควร ตำพริกกับหัวขิงให้เข้ากัน ตามก้านทูนที่หั่นแล้วใส่ในครก ตำให้เข้ากันด้วยเครื่องปรุงที่เตรียมไว้ชิมตามใจ

ขนมลิ้นฟ้า
ส่วนประกอบ
1.)        แป้งข้าวเหนียว 1 ถุง
2.)        กล้วยน้ำหว้าสุก 6-7 ลูก
3.)        น้ำตาล 1 ช้อน
4.)        งา 2–3 ช้อน
วิธีทำ
                ขยำกล้วย แป้ง และน้ำตาลให้เข้ากันให้สามารถปั้นเป็นก้อนได้ ปั้นแป้งให้เป็นแผ่น ๆ คลุกด้วยงา นำลงทอดในน้ำมันที่ร้อน (น้ำมันทอดควรเป็นน้ำมันพืชจะทำให้ทำมีกลิ่นหอม) สุกตักใส่จานรับประทานร้อน ๆ อร่อยมาก
คุณค่า / ประโยชน์
-                   งา บำรุงไขข้อ
-                   กล้วยผลสุกบำรุงกำลัง บำรุงร่างกาย
-                   ระบายเวลาขับถ่าย
-                   รักษาแผลนำกระเพาะอาหาร

ตำกล้วยน้ำว้า
ส่วนประกอบ
1.)        พริก 3-4 เม็ด
2.)        กล้วยน้ำว้าดิบ 3 ลูก
3.)        ตะใคร่ 1 ต้น
4.)        มะขามเปียก 2 ฝัก
5.)        เกลือ
6.)        น้ำปลาร้า
7.)        น้ำตาล 1 ช้อน
วิธีทำ
1.)        สับกล้วยปอกเปลือกหรือไม่ปอกเปลือกก็ได้
2.)        ตำพริกกับ เกลือ
3.)        นำกล้วยที่สับแล้วนำมาตำกับพริก
4.)        ใส่มะขาม, น้ำปลาร้า, น้ำตาล
คุณประโยชน์
-                   แก้เป็นโรคบิด ท้องร่วง

แกงฟักทองใส่ปลาดุก (บุญเนี้ยอีปรี)
1.)        ฟักทอง หั่นเป็นชิ้นพอคำ
2.)        น้ำปลาร้า 2 ช้อนโต๊ะ
3.)        ตะไคร้ 2 หัว
4.)        ใบนางลัก 8 ยอด
5.)        เกลือครึ่งช้อนโต๊ะ
6.)        พริกสด 9-10 เม็ด
7.)        ปลาดุก 2 ตัว
วิธีทำ
                ต้มน้ำให้เดือด นำฟักทองที่หั่นเป็นชิ้น ๆ ใส่ในหม้อ น้ำตะไคร้มาเผาให้หอมทุบและหั่นเป็นชิ้น ๆใส่ในหม้อ นำพริก, เกลือ, หอม, กระเทียม, ตำให้เข้ากัน ใส่ลงไปในหม้อ นำปลาใส่ แล้วใส่น้ำปลาร้า พอสุก ใส่ใบนางลัก ก็รับประทานได้
คุณค่าคุณประโยชน์
                แกงฟักทองชาวญัฮกุร (ชาวบน) ที่นิยม บริโภคในฤดูฝน แกงฟักทองมีวิตามินเอ เบต้าแคโรทีน สูง แคลเซียม ฟอสฟอรัส โปรตีนแป้น ไขมัน ช่วยบำรุงสายตา กระดูกและฟัน ชะลอความแก่ชรา

ตำมะละกอ
ส่วนประกอบ
1.)        มะละกอ 1 ผล
2.)        น้ำปลาร้า 2 ช้อน
3.)        น้ำตาลทราย 1ช้อน
4.)        น้ำปลา
5.)        พริกสุก 2 เม็ด
6.)        เกลือ 2 ช้อนชา
7.)        กระเทียม 5 กลีบ
วิธีทำ
                สับมะระกอ ตำพริก เกลือ กระเทียมให้เข้ากัน นำมะละกอที่สับมาตำคลุมเคล้ากัน ใส่น้ำปลาร้า น้ำตาล น้ำปลา
คุณประโยชน์
-                   เจริญอาหาร มะละกอผลดิบใช้ขับลม
-                   ขับพยาธิ ระบายท้อง

พืชสมุนไพร
-                   กระชาย
-                   กระบุกพื้นบ้าน
-                   ทูน
-                   ผักเสี้ยน
-                   ผักชีหูเสือ
-                   มะระพื้นบ้าน
-                   ผักซ่าเลือด
-                   ผักงูเง่า
-                   ขี้เหล็ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น