ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

ม้ง




กลุ่มชาติพันธ์ม้ง

ประเพณีปีใหม่
                ประเพณีปีใหม่ ถือว่าเป็นเทศกาลที่สำคัญที่สุดงานหนึ่งของม้ง ที่มีมาตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบันเป็นงานเทศกาลที่จัดขึ้นหลังจากการเก็บเกี่ยวพืชผลผลิตเสร็จแล้ว จะจัดขึ้นตรงวันขึ้น 1 ค่ำเดือน 2 ตามปฏิทินจันทรคติของทุกปี ซึ่งจะตรงกับช่วงเดือนธันวาคม และมกราคม
วันก่อนปีใหม่
                ก่อนที่จะถึงเทศกาลปีใหม่ จะมีการเตรียมงานพิธีกรรมหลายอย่างที่สำคัญ พ่อแม่จะต้องเตรียมเสื้อผ้า เครื่องแต่งกายให้กับลูก ๆ ซึ่งในช่วงสิ้นปีบางครอบครัวจะมีการเรียกขวัญประจำปี คนที่ทรงอัวเน้ง กะจัดพิธีกรรมรักษาผู้ผ่ายตลอดทั้งปีที่ผ่านมา เพื่อวิญญาณเหล่านั้นจะได้ไปผูกไปเกิดใหม่และหยุดการประกอบพิธีกรรมทรงเจ้าชั่วคราว ถึงวันแรม 15 ค่ำ เดือน 1 ในช่วงบ่ายก่อนพระอาทิตย์ตกดิน เจ้าของบ้านจะมีการปัดกวาดเคราะห์ สิ่งไม่ดีออกไปจากบ้าน โดยการนำใบไผ่และเอาผ้าสีแดงมามัดไว้ ทำการปัดกวาดเคราะห์ และจะมีการกวาดทำความสะอาดบ้าน เสร็จแล้วจะเอาใบไผ่มัดนั้นไปเข้าร่วมพิธีส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่
วันส่งท้ายปีก่อนต้อนรับปีใหม่
                จะใช้ต้นงิ้วเอาหญ้าคามาสานให้เป็นสังวาล (เชือก) จะมีการสานให้เป็นกำไลข้อมือด้วย แล้วใช้ผ้าแดงมัดเป็นช่วง ๆ ผูกติดกับต้นงิ้ว สร้างให้เป็นประตู เพื่อให้ทุกคนที่มาร่วมพิธีเดินผ่านไปมา โดยจะเดินวนไปข้างซ้าย 3 รอบ ซึ่งเป็นการส่งท้ายปีเก่า และเดินวนกลับข้างขวา 3 รอบ เป็นการต้อนรับปีใหม่ จะมีผู้เฒ่าคนหนึ่งถือไก่ทำพิธี และยังมีการยิงปืนเพื่อส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ เมื่อกลับถึงบ้านก็จะมีการประกอบพิธีกรรมในบ้าน มีการเรียกขวัญของทุกคนเพื่อต้อนรับปีใหม่ และยังมีการเซ่นไหว้บรรพบุรุษ
วันขึ้นปีใหม่
                วันรุ่งขึ้นเป็นวันขึ้น 1 ค่ำ เดือน 2 เป็นวันเริ่มปีใหม่ จะมีการละเล่นของหนุ่มสาว ในวันนี้จะเป็นวันกรอบไหว้บรรพบุรุษ ณ ที่สุสาน การกราบไหว้ จะทำติดต่อกัน 3 ปี หลังจากเสียชีวิต ซี่งปีแรกการกราบไหว้จะใช้ไก่ ปีที่ 2 จะใช้หมู ปีที่ 3 จะใช้วัวหรือหมูก็ได้ แต่ในปัจจุบันจะใช้หมู เนื่องเพราะในอดีตสัตว์ที่นำไปกราบไหว้ จะต้องทานให้หมด แต่ในปัจจุบันก็สามารถเอากลับบ้านได้เครื่องเซ่นไหว้ก็จะมี เครื่องดื่ม กระดาษเงิน กระดาษทอง ธูปเทียน ไก่หรือหมู ขึ้นอยู่กับปีที่กราบไหว้
                วันขึ้น 2 ค่ำ เดือน 2 เป็นวันกราบไหว้ขอพรจากบิดา มารดา ผู้อาวุโส
                วันขึ้น 3 ค่ำ เดือน 2 เป็นต้นไป จะเป็นวันละเล่นปีใหม่ตามวิถีชีวิตวัฒนธรรม ตามหลักจะมีกำหนด 12 วัน
กิจกรรมการละเล่นที่สำคัญ
1.             โยนลูกช่วง (ป๋อป๊อ)
2.             การขับร้องซอม้ง
3.             ขับร้องเพลงม้ง (ฮาหลู่เจี่ย)
4.             ขับร้องเพลงไทย
5.             เป่าแคน
6.             เป่าใบไม้
7.             เป่าขลุ่ย
8.             การสีซอ
9.             รำวง
กีฬาพื้นบ้าน
1.             ยิงหน้าไม้
2.             ตีลูกข่าง
3.             แข่งขันปักผ้า
4.             ตำข้าว
5.             หาบน้ำ
6.             ตีลูกขนไก่ เป็นต้น



เจ็บไข้ได้ป่วย ความเชื่อกับการรักษา
1.             สื่อก๊า (swm kab) เป็นเทพผู้คุ้มครองให้ลูกทุกคนในบ้านอยู่เย็นเป็นสุข ป้องกันสิ่งชั่วร้ายไม่ให้เข้ามาในบ้าน
2.             เชื่ยเม่ง (txiaj meej) เป็นเทพแห่งโชคลาภดูแลปกป้องทรัพย์สมบัติ และสัตว์เลี้ยงของครอบครัว
3.             ด้าโตรง (dab roog) เป็นเทพเจ้าผู้ดูแลลูกหลาน และสัตว์เลี้ยงให้เจริญเติบโตไม่มีโรคภัยไข้เจ็บ
4.             เจ้าแห่งเตาไฟเล็ก (dab phov cub) เป็นผู้ที่มีบุญคุณที่ช่วยให้เรามีที่ประกอบอาหารเลี้ยงชีวิตมาถึงทุกวันนี้
5.             เจ้าแห่งเตาไฟใหญ่ (dab qhov txos) เป็นผู้ที่มีบุญคุณช่วยให้เรามีที่ต้มอาหารหรือหุงข้าวที่เป็นหม้อใหญ่ บรรพบุรุษมาถึงปัจจุบัน
6.             ท่าเน้ง (thaj neeb) เป็ฯที่สิงสถิตของ คัวเน้ง (เทพผู้ช่วยรักษาทางจิตวิญญาณ)
7.             ก้าเย้ง (kab yeeb) หรือ (poj dab pog) เป็นเทพที่มีหน้าที่ส่งบุตรหลานมาเกิดลงยังโลกมนุษย์ หรือการให้ชีวิตเด็กที่เกิดใหม่มามีร่างกายที่สมบูรณ์โรวันโตคืน
8.             สมุนไพร (dab tsuaj) การบูชาหิ้งสมุนไพรยานั้นจะให้ศักดิ์สิทธิ์ในการรักษาคนไข้ให้หาย โดยมีความเชื่อว่า ยาสมุนไพรที่ดี จะมีเทวดาคอยสิงสถิตอยู่
9.             บรรพชนและบรรพบุรุษ (poj yawm txwv koob) มีความเชื่อว่าเป็นผู้ที่ช่วยให้เราคลาดแคล้วจากภัยอันตราทั้งปวง เป็นสิ่งศักดิ์สิทธ์ที่ลูกหลานต้องเคารพ กราบบูชาตลอดชีวิต
พิธีกรรมทางเจ้า อัวเน้ง (Ua neeb)
การทรงเจ้านั้นทำพิธีขึ้นเพื่อเป็นการรักษาผู้ป่วย และปกป้อง ขับไล่สิ่งไม่ดีออกไป เมื่อเราต้องการที่จะไปขอคนทรงเจ้ามา อัวเน้งจะต้องเตรียมธูป 4 ดอกไปด้วย (การถือธูปควรถือให้เป็นแนวตั้ง) เมื่อเราขอผู้อัวเน้งได้แล้วเราต้องกราบคำนับ 2 ครั้ง ให้กับผู้อัวเน้ง จากนั้นภารยาของผู้อัวเน้งจะเก็บอุปกรณ์ที่ต้องใช้ในการอัวเน้งให้กับผู้ขอเอาไปล่วงหน้าก่อน (การคำนับผู้ทรง ควรหันหน้าไปที่หิ้งบูชาเพื่อทำการคำนับ)
องค์ประกอบสำคัญ พิธีกรรมอัวเน้ง
1.             จื๋อเน้ง คือ ผู้ทรงเจ้าประกอบพิธีกรรม
2.             คัวเน้ง คือ เทพเจ้าบนสวรรค์
3.             จัวเน้ง คือ โม้ง
4.             กั่วเน้ง คือ อุปกรณ์เสี่ยงทาย
5.             จื้อเน้ง
6.             เจี๊ยะเน้ง
7.             โตร่งเน้ง
วัสดุอุปกรณ์ที่เจ้าของบ้าต้องเตรียม
1.             โต๊ะสำหรับวางอุปกรณ์อัวเน้ง
2.             กระถางปักธูป และมีไข่ 1 ฟอง
3.             น้ำอุ่น 3 ถ้วย
4.             ข้าวเปลือกคั่ว 1 หรือ 2 จาน
5.             น้ำเย็น 1 ถ้วย
6.             กระดาษเงินกระดาษทอง
7.             สัตว์ที่ใช้ในพิธี (ปกติจะเป็นหมู ถ้าไม่มีสามารถใช้ไก่ได้ แต่จะไม่ใช้สัตว์ที่ใหญ่กว่าหมู)
ขั้นตอนการอัวเน้ง
1.             เมื่อผู้อัวเน้งมาถึง จะมีการเสี่ยงทายดูว่าผีต้องการอะไร และต้องการกระดาษเงินกระดาษทองเท่าไหร่
2.             เมื่อผู้ทรงเข้าทรงแล้วผู้ทรงจะมีกาการตัวสั่นและกล่าวสายยายด้วยภาษาทรงเจ้าสื่อสารระหว่างมนุษย์กับวิญญาณ จะมีผู้ช่วยดูแลอย่างใกล้ชิตเพื่อคอยช่วยเหลือผู้ทรง และเมื่อผีต้องการอะไรผู้ทรงจะบอกมาให้ หรือต้องทำอะไรในช่วงนั้น
3.             เมื่อเสร็จพิธีกรรม ผู้ทรงออกจากร่างทรง เจ้าของบ้านจะต้องคำนับ 2 ครั้ง คือ คำนับครั้งที่ 1 สำหรับผู้ทรง คำนับครั้งที่ 2 สำหรับคัวเน้ง(เทพเจ้าบนสวรรค์)
4.             จะมีการจะเตรียมอาหารเพื่อเลี้ยงผู้ทรงและคัวเน้ง ก่อนจะกินข้าว เจ้าของบ้านต้อคำนับอีกครั้งให้กับผู้ทรงและคัวเน้ง
การบนบาน ฝีเหย่ง (fiv yeem)
                กาบนบาน คือ การที่อัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์ เทพเจ้าแห่งฟ้าดิน เพื่อดลบาดาล ให้มาคุ้มครองคน และสิ่งต่าง ๆ ที่เราอยากให้ช่วยคุ้มครอง เพื่อให้เป็นไปตามที่เราต้องการ การบนบานเราจะใช้สัตว์อะไรก็ได้ หรือกระดาษเงิน กระดาษทองเท่าไหร่ก็ได้ ขึ้นอยู่กับผู้บนบาน แต่โดยปกติแล้วจะนิยมใช้ สัตว์ เช่น หมู ไก่ ควาย และวัว อุปกรณ์ก็จะมีกระดาษเงิน กระดาษทอง ก็ขึ้นอยู่กับผู้บนบานว่าจะใช้จำนวนเท่าไหร่ ถ้าการบนบานนั้นไม่เป็นไปอย่างที่ขอไว้ก็จะไม่มีการแก้บนถือว่าเป็นอันโมฆะ ซึ่งการบนบานแบ่งได้ 2 กรณี คือ
1.             การบนบานเพื่อคน ซึ่งสาเหตุการบนบาน
1.1      เมื่อมีคนในครอบครัวเจ็บป่วยโดยไม่รู้สาเหตุ
1.2      เมื่อคนหาย บนบานเพื่อขอทราบ ยืนยันการมีชีวิต
1.3      เมื่อเจอภัยอันตรายที่ไม่ปลอดภัยกับตนเอง
1.4      เมื่อต้องเดินทางไกล มีความกังวนใจ
1.5      เพื่อให้ดลบนดาลให้ได้ตามสิ่งที่ต้องการ
1.6      บนบานในรอบปี เพื่อให้คุ้มครองทุกคนในครอบครัว
2.             บนบานเพื่อการเกษตรกรรม คือ การบนบานเพื่อให้พืชผลที่ปลูกมีความเจริญเติบโตและให้ผลผลิตที่ดี
การบนบานทำได้ 2 รูปแบบ
                รูปแบบที่ 1 บนบานตรงที่เป็นสถานที่หรือเป็นบ้านเตรียมท่อนไม้ไผ่ที่กลวงมีความสูงเท่ากับอกตนเอง ปักเข้ากับพื้นดินและปัทธูปใช้ผ้ามีแดงมัดตรงกลางไม้ไผ่ ผู้บนบานต้องถือธูปตีฆ้องขับร้องเพื่ออัญเชิญเหล่าเทพเจ้าสิ่งศักดิ์สิทธ์มารักรู้เพื่อช่วยคุ้มครอง (กรณีเป็นคนป่วยต้องเสกด้ายสีขาวหนึ่งเส้นที่ผู้บนถือไว้เพื่อเอาไปผูกข้อมือคนป่วย)
                รูปแบบที่ 2 บนบานโดยปากเปล่าใช้ในเวลาเจอเหตุการณ์ฉุดเฉิน มีภัยอันตรายต่อตนเอง ก็จะบนบานว่าถ้ารอดพ้นจากภัยอันตรายแล้วจะแก้บนให้ โดยเรียกสิ่งศักดิ์สิทธิ์เทพเทวดา และบรรพชนมาปกป้อง
การแก้บน (pauj yeem)
                เมื่อสิ่งที่เราได้บนสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไว้เป็นไปตามที่เราบนไว้แล้วสมปรารถนา เตาต้องมีการแก้บน ถ้าเราลืมแก้บนเชื่อว่า สิ่งศักดิ์สิทธิ์จะทำให้คนในครอบครัวเจ็บป่าวหรือฝันร้ายเพื่อเป็นการเตือนในเรานั้นแก้บนการแกบนเราต้องหาสัตว์ที่ได้ทำการบนเอาไว้ พร้อมทั้งพับกระดาษเงิน กระดาษทองให้ตรงตามที่เราได้บนเอาไว้ จุดธูปพร้อมไปที่ท่อนไม้ไผ่ที่เราปักเอาไว้ เพื่อแก้บนครั้งแรก กล่าวเรียกสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพื่อมารับรู้ว่าเราได้ทำการแก้บนให้แล้ว และให้สัตว์จำพวกที่ได้บนไว้ และกระดาษเงินกระดาษทองที่เราได้เตรียมในงานพิธีตามจำนวนที่บนไว้ และเมื่อสิ่งศักดิ์สิทธิ์รับรู้แล้ว เรานำสัตว์ไปฆ่าและปรุงในสุกเอามาวางไว้ตรงหน้าท่อนไม้ไผ่เพื่อเลี้ยงสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเอากระดาษเงิน กระดาษทองให้แล้วกล่าวคำว่า เราได้แก้บนแล้ว ไม่มีอะไรติดค้าง จากนั้นจึงเชิญสิ่งศักดิ์สิ่งกลับถิ่นตามเดิม


พิธีกรรม งานศพ
                เมื่อมีการเสียชีวิตเกิดขึ้น มีการส่งสัญญาณด้วยการยิงปีนขึ้นฟ้า 3 นัดด้วยกัน ตามขนบประเพณีการยิงปืน
1.             การยิงปืน 3 นัดแรกคือ เพื่อเป็นการแจ้งสัญญาณว่ามีผู้เสียชีวิตและต้องการขอความช่วยเหลือจากคนในหมู่บ้าน จากนั้นญาติก็จะหารือกันเพื่อจัดหาทีมงานมาช่วยในพิธีงานศพ อีกส่วนหนึ่งทำการอาบน้ำศพและสวมเสื้อสวมรองเท้าในผู้ตายตามขนบธรรมเนียมประเพณี
2.             เมื่อแต่งกายให้กับผู้เสียชีวิตเสร็จ ก็จะยิงปืนอีก3 นัดเพื่อเป็นการส่งดวงวิญญาณของผู้เสียชีวิตขึ้นบนสวรรค์
หลังจากนั้นเจ้าบ้านหรือญาติจะไปขอทีมงานมาช่วยเหลือในพิธีงานศพมีสิ่งที่ต้องเตรียมไปคือน้ำอัดลมหรือเหล้า 1 ขวด และแก้วอีก 2 ใบ เมื่อต้องที่จะขอแรงบุคคลใดบุคลหนึ่งเพื่อช่วยในงานศพ เมื่อไปถึงบ้านของคนที่จะขอให้มาช่วยงานเรา ต้องเตรียมโต๊ะวางภาชนะและนำอาหารที่เตรียมไว้วางบนโต๊ะและนั่งคุย เมื่อกล่าวพูดคุยเสร็จแล้วจะขอบคุณโดยการกราบ (แบบมัง) 2 ครั้ง
ลำดับทีมงาน
1.             ก๋าซืก 2คน (kav xwm) เป็นคนที่ขอให้มาช่วยดูแลจัดการงานต่าง ๆ ตามที่เจ้าบ้านต้องการ
2.             จื๊อเลา (txwj laug) เป็นคนที่ขอให้มาช่วยไกล่เกลี่ยปัญหาต่าง ๆ ในคืนสวดศพ กรณีศพเป็นผู้ใหญ่ ถ้าเป็นเด็กจะไม่มีจือเลา (txwj laug)
3.             จั๊วะจัว (cuab teav) เป็นพี่น้องในตระกูลเดี่ยวกัน ขอให้มาช่วยงานในส่วนของพิธีกรรมของตระกูล
4.             ฉื่อก๊า 3-4 คน (tshwj kab) เป็นคนที่ขอให้มาช่วยด้านอาหาร
5.             คั้วะแก (qhuab kes) เป็นคนที่ขอให้มาช่วยชี้ทางให้ผู้ตายไปสู้สวรรค์
6.             พ่อเป่าแคน 3-4 คน (txiv qeej) เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมศาสนา
7.             คนตีกลอง (txiv nruas) เป็นผู้ประกอบพิธีกรรมศาสนา
8.             ตู๊เจี๋ยะเต๋อ (tub txhtav taw) เป็นฝ่ายมีหน้าที่ตัดฟืน
9.             ตู๊จ๋าเปาะ (tub tsav phom) เป็นคนยิงปีนประกอบพิธีกรรม
10.      ฝ่ายจัดการน้ำ (niam ev dej) เป็นผู้ดูแลเรื่องน้ำใช้ในการประกอบอาหาร
11.      จี๋เจี้ย (txiv txhiag) เป็นฝ่ายจัดเตรียมโลงศพ
12.      ตู๊เจี่ยะแน่ง (tub txhiav nees) เป็นฝ่ายจัดเตรียมม้าสำหรับคนตายและจัดเตรียมรองเท้าสำหรับคนตาย
13.      เนี่ยะอัวม๋ย (miam mov) เป็นคนหุงข้าว (ผู้หญิง)
ผู้ที่ทำหน้าที่สำคัญในงานศพ
1.             คั๊วเก (qhuab ke) หรือผู้ชี้ทางวิญญาณไปยังปรโลกและขี้นไปบนสวรรค์ ขั้นตอนมีดังต่อไปนี้
1.1      ทำพิธีสอบถามบอกกล่าวผู้ตายว่า ผู้ตานั้นได้ตายจริงหรือไม่ หากไม่ตายให้จงลุกขึ้นมามีชีวิต
1.2      รินเหล้า น้ำชาให้ดื่มครั้งสุดท้ายของการมีชีวิตและตาย เป็นการแสดงความเสียใจต่อผู้ตาย
1.3      ผู้ชี้ทางจะเป็นผู้ตักข้าว อาหาร และไข่ไก่ให้ผู้ตายได้กินเป็นครั้งสุดท้าย
1.4      สาธยายถึงชีวิตอันโศกเศร้าของผู้ตาย นับจากจุดเริ่มต้นตั้งแต่มีชีวิต จนถึงวันที่สิ้นชีวิต
1.5      เริ่มบทบอกกล่าวชี้ช่องทางให้ผู้ตายได้เดินทางกลับไปยังจุดที่ถือกำเนิดของผู้ตายอย่างถูกต้อง
2.             จี๋เข๋งผู้เป่าแคนสิ้นใจ (tshuab qeej tu siav) ขั้นตอนหลังจากกล่าวชี้ทางสวรรค์ให้ผู้ตายคือ
2.1      เป่าแคนสิ้นใจให้ผู้ตาย (qeej tu siav)
2.2      เป่าแคนในบทอัญเชิญผู้ตายสู้หน้าม้า (หรือใส่โลงศพ) (qeej tsa nees)
2.3      เมื่อถึงช่วงเวลาเช้า กลางวัน เที่ยง เย็น ดึก จะต้องมีการดีกลองและยิงปืน ประกอบบทแคนเพลงศพของแต่ละช่วงเวลา
ก่อนถึงวันเสียศพ 1 วัน
                ทีมงานและฝ่ายเจ้าภาพ ต้องจัดเตรียมพิธีต้อนรับ ญาติพี่น้องในหมู่บ้านและที่มาจากที่อื่นหรือที่เป็นญาติโดยแท้ ที่จะมากราบเคารพและไว้อาลัยศพเป็นครั้งสุดท้าย เรียกพิธีนี้ว่า คัวจือ (hnub qhaus txw) และในคืนนั้นจะมีการประชุมทีมงานจัดงานศพและเจ้าภาพลูกหลานผู้ตายที่เกี่ยวข้องที่มีส่วนได้ส่วนเสียในทรัพย์มรดกต่าง ๆ ของผู้ตาย จะมีการสืบสวนและพิจารณาแบ่งมรดกมอบให้แก่ผู้ที่มีสิทธิ์ได้รับในคืนนั้น และพิจารณาสอบถามถึงหนี้สินของผู้ตายว่ามีหรือไม่ จะมีการฟ้งคำสั่งสอนจากตัวแทนของผู้ตาย ซึ่งจะสื่อจากผู้ตายและบอกกล่าวกับลูกหลาน พอถึงเช้าวันที่จะเสียศพจะมีการนำเอากระดาษเงินและกระดาษทองของญาติพี่น้องที่น้ำมามอบให้ผู้ตายนำไปใช้ในภพต่อไป และไว้อาลัยตามประเพณีพิธีที่มีการสืบทอดมาจากบรรพบุรุษมานาน จากนั้นจะเคลื่อนย้ายศพออกจากบ้านมาไว้ที่ลานพิธีที่เตรียมไว้ และเตรียาฆ่าวัวให้แก่ผู้ตาย
ขั้นตอนสุดท้ายของงานศพ
                การฆ่าวันในปัจจุบัน กำหนดให้ น้าหรืออา มีหน้าที่ เรียกร้องให้เจ้าภาพล้มวันได้ไม่เกิน 2 ตัวแต่ในกรณีที่ต้องการล้มมากกว่า 2 ตัวขึ้นไป ให้เป็ฯความสมัครใจของเจ้าภาพ ตามอัตรากำลังของเจ้าภาพ หรือทุนทรัพย์ของเจ้าภาพ
บุคคลที่มีหน้าที่ล้มวัวงานศพในพิธี
1.             วันตัวที่ 1 มอบให้ จั๊วจ๋า (cuab tsav) พีน้องในตระกูลเดียวกัน เป็นผู้ฆ่า
2.             วันตัวที่ 2 มอบให้ น้าหรืออา (maum phauj , dab laug) เป็นผู้เฒ่า
3.             ถ้ามีวันตัวที่ 3 มอบให้ ซื่อก๊า (tshwj kab) คนที่ขอให้มาช่วยด้านอาหาร เป็นผู้ล้มวัว
การล้มวัวให้กับผู้ตาย มีความเชื่อว่าชีวิตวัวเหล่านั้นจะติดตามผู้ตาย เป็นเพื่อนหรือเป็นทรัพย์สมบัติของผู้ตาย ร่วมเดินทางไปยังภพหน้า หลังจากนั้นเจ้าภาพจะมีพิธีกล่าวขอบคุณทีมงานจัดการงานศพและญาติผู้มาร่วมไว้ ตลอดถึงทุกคนที่มาร่วมงานศพ หลังจากนั้นก็จะนำศพไปฝังตามสถานที่ที่ได้เตรียมเอาไว้ล่วงหน้าแล้ว พอไปถึงที่ฝังศพก็จะมีการประกอบพิธีตามศาสนาของม้ง หลังจากประกอบพิธีเสร็จสิ้นแล้วก็จะนำศพของผู้ตายมาฝังไง้ และเดินทางกลับบ้านมารับประทานอาหารร่วมกันอีกหนึ่งครั้ง ถือว่าเป็นการขอบคุณทุกคน
                ในกรณีมีปัญหาในระหว่างการจัดงานศพให้เป็นหน้าที่ของก๋าสื่อ และเจ้าภาพ และทีมงานต้อมาปรึกษา และหารือกัน ก๋าลื่อ จะเป็นผู้ที่ชี้ขาดในปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้น
พิธีกรรมหลังความตาย
1.             พิธีปล่อยดวงวิญญาณ (tso plhig) ต้องทำหลังจากฝังศพแล้ว 13 วันเป็นต้นไป อุปกรณ์ที่ใช้ในพิธีปล่อยดวงวิญญาณ 1. กระด้ง 2. เสื้อผ้าที่เป็นชุดม้ง 3. ผ้าโพกหัวม้ง 4. ขนมข้าวปุก
2.             ญู่ด้า (nyuj dab) หรือ บุญวัว การประกอบพิธกรรม ญู่ด้า คือ การฆ่าวันให้แก่พ่อและแม่ที่ล่วงลับไปแล้ว ถือได้ว่าเป็นการทำบุญตอบแทนบุญคุณครั้งใหญ่ให้ บิดา มารดา ที่ล่วงลับไปแล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น