ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

ไทยพวน

ไทยพวน

ประวัติความเป็นมา
                พวน (Phuen Puen) เป็นคำที่เรียกกลุ่มชนที่ตั้งถิ่นฐานอยู่ในแคล้วนเชียงขวางหรือ บริเวณที่ราบสูงในประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว มีอาณาเขตติดต่อกับญวน ได้ชื่อว่า พวน เพราะเชียงขวางมีแม่น้ำสายสำคัญไหลผ่านพื้นที่ ชื่อแม่น้ำพวน ชาวพวนนิยมตั้งถิ่นฐานสร้างที่ทำกินบริเวณลุ่มแม่น้ำด้วยมีอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่ ไถนา เมื่ออพยพมาอยู่ประเทศไทยเรียกว่า “ไทยพวน”
                สมัยกรุงธนบุรี เมื่อประเทศลาวได้รวมอาณาจักรเดียวกันกับประเทศไทย จนถึงสมัยกรุงรัตนโกสินทร์แผ่ดินราชกาลที่ 3 พลเมืองทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง รวมทั้ง “พวน” ได้ถูกกวาดต้อนมาอยู่ทางฝั่งขวา แม่น้ำโขงหลายท้องถิ่นเดียวกันและกระจัดกระจายอยู่ตามภาคต่าง ๆ ของไทย
                การอพยพมาอยู่ในประเทศไทยแบ่งเป็น 5 ครั้งใหญ่ ๆ ด้วยกัน
                                ครั้งที่ 1 พ.ศ. 2321 สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช กรุงธนบุรี
                                ครั้งที่ 2 พ.ศ. 2335 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1
                                ครั้งที่ 3 พ.ศ. 2352 สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2
                                ครั้งที่ 4 พ.ศ. 2370 สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3
                                ครั้งที่ 5 พ.ศ. 2378 สมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3

ที่อยู่/แหล่งอาศัย
 ภาคกลาง
1.             จังหวัดลพบุรี  บ้านถนนใหญ่ ถนนแค บ้านโคกกระเทียม อำเภอบ้านหมี่ อำเภอโคกสำโรง
2.             จังหวัดสิงห์บุรี  อำเภอพรหมบุรี บ้านบางน้ำเชี่ยว บ้านโภคา บ้านแป้ง
3.             จังหวัดสุพรรณบุรี อำเภอบางปลาม้า บ้านลานบ้านเก้าห้อง บ้านมะขามล้ม บ้านวัดโปสถ์ บ้านท่าตลาด บ้านตะลุ่ม
4.             จังหวัดสระบุรี  อำเภอหนองโดน บ้านกลับ บ้านครัว อำเภอดอนพุด
5.             จังหวัดอุทัยธานี  อำเภอทับทัน อำเภอลานสัก
6.             จังหวัดกาจนบุรี  อำเภอพนมทวน
7.             จังหวัดราชบุรี  อำเภอเมือง อำเภอบ้านโป่ง
ภาคเหนือ
8.             จังหวัดแพร่  บ้านทุ่งโฮ่งเหนือ ทุ่งโฮ้งใต้  อำเภอเมือง
9.             จังหวัดพิษณุโลก บ้านแช็ก บ้านวังทอง
10.      จังหวัดอุตรดิตถ์ บ้านปากฝาง บ้านผาจุก อำเภอเมือง
11.      จังหวัดพิจิตร  อำเภอบางขุนนาค อำเภอตะพานหิน อำเภอทับคล้อ
12.      จังหวัดเพชรบูรณ์  อำเภอหล่มเก่า อำเภอตะพานหิน อำเภอซับสมอทอด อำเภอชนแดน
13.      จังหวัดสุโขทัย  อำเภอศรีสัชนาลัย บ้านหาดเสี้ยว บ้านหาดสูง บ้านแม่ราก อำเภอสวรรคโลก อำเภอลานหอย
14.      จังหวัดนครสวรรค์  อำเภอท่าตะโก อำเภอตาคลี อำเภอตากฟ้า
15.      จังหวัดเชียงราย  อำเภอเชียงแสน
16.      จังหวัดน่าน อำเภอเวียงสา (บ้านหลับมืนพวน) อำเภอท่าวังผา (บ้านฝามูล)
ภาคตะวันออก
17.      จังหวัดนครนายก  อำเภอปากพลีมีชาวไทยพวนมากที่สุดในจังหวัด บ้านฝั่งคลอง บ้านหนองตะเคียน บ้านโพธิ์ศรี บ้านกลางโสภา บ้านเกาะหวาย
18.      จังหวัดปราจีนบุรี  อำเภอศรีมหาโพธิ์ อำเอโคกปิป (บ้านหัวชา บ้านหัวหว้า บ้านหัวนา บ้านหนองเสือ บ้านหนองสะแก บ้านโพนไทร บ้านดอน บ้านยา บ้านปรือหวาน บ้านส้มแสง)
19.      จังหวัดฉะเชิงเทรา  อำเภอพนมสารคาม อำเภอสนามชัยเขต
20.      จังหวัดชลบุรี  อำเภอพนัสนิคม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
21.      จังหวัดอุดรธานี  อำเภอบ้านผือ เขตเทศบาลตำบลบ้านผือ 9 ชุมชน หมู่บ้านตำบลกลางใหญ่ ตำบลหายโศก ตำบลคำบง ตำบลคำด้วง ตำบลคำด้วง ตำบลเมืองพาน อำเภอหนองหาน ที่ตำบลบ้านเชียง
22.      จังหวัดเลย อำเภอเมือง อำเภอเชียงคาน
23.      จังหวัดหนองคาย  ตำบลบ้านหม้อ อำเภอศรีเชียงใหม่ อำเภอโพธิ์ตาก
24.      จังหวัดอุบลราบธานี  ตำบลแจระแม อำเภอเมือง
25.      จังหวัดอุบลราชธานี
ชาวพวนที่อาศัยอยู่ในกรุงเทพ ปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่มีถิ่นฐานเดิมอยู่ที่ต่างจังหวัด ไทยพวนจะมีวัฒนธรรม – ประเพณี ที่คล้ายคลังกัน อาจจะแตกต่างไปบ้างตามถิ่นที่อยู่อาศัย มีเอกลักษณ์เป็นของตนเอง เช่น ด้านภาษา ด้านอาหาร เครื่องแต่งกาย วิถีชีวิตความเป็นอยู่ ความเชื่อ ศาสนพิธี การละเล่น พื้นบ้าน- ดนตรี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น