ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

มอญ




ชุมชนมอญโบราณ บ้านหนองดู่ – บ่อคาว

ประวัติความเป็นมา
                “มอญ” เป็นชนชาติที่เก่าแก่ที่สุดชนชาติหนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้เช่นเดียวกับชาวขอและชาวลัวะ ชาวมอญมีวิถีชีวิตผูกพันกับแม่น้ำสายน้ำ จึงมักจะเลือกตั้งหลักแหล่งอยู่อาศัยติดกับลำน้ำเสมอ ชุมชนมอญโบราณ “บ้านหนองดู่- บ่อคาว ตำบลบ้านเรือน อำเภอป่าซาง” เป็นชุมชนติดแม่น้ำปิงอยู่ใกล้หนองน้ำใหญ่ที่มีต้อประดู่อยู่ “จึงได้เรียกชุมชนนี้ว่า” หนองดู่ ส่วนชาวมอญที่มาอยู่อาศัยนั้นมีข้อสันนิษฐานเกี่ยวกับการโยกย้ายอพยพไว้ ๔ ประการ
ประการที่ ๑ เป็นผู้อพยพเข้ามาอยู่อาศัยก่อนที่พระนางจามเทวีจะเสด็จ
มาครองเมืองหริ๓ญไชย โดยมีการอ้างเรื่องนิทานเล่าปรัมปราว่าเป็นธิดาที่เกิดกับเศรษฐีอินตาแต่ไปโตที่ละโว้ซึ่งเป็นเพียงความเชื่อของคนท้องถิ่นมีหลักฐานเป็นเพียงสถานที่แห่งหนึ่งที่บ้านเกาะกลางซึ่งไม่เพียงพอควรแก่การเป็นข้อสรุปเชิงวิชาการ
ประการที่ ๒ เป็นกลุ่มชาวมอญที่เดินทางร่วมคณะกับเจ้าแม่จามเทวี
                เป็นความเป็นที่น่ารับฟังเพราะว่าในสมัยอาณาจักรทวารวดีในแถบที่ราบลุ่มภาคกลางในอดีตเคยเป็นถิ่นที่อยู่ที่ชาวมอญได้เดินทางมาติดต่อค้าขายระหว่างอ่าวเมาะตะมะ กับ พื้นที่ภาคพื้นทวิปที่เป็นอาณาจักรทวารวดีอันมีละโว้เป็นเมืองที่มีความเจริญรุ่งเรืองเมืองหนึ่งของแคว้น และอาจเป็นประชาชนพลเมืองกลุ่มหนึ่งที่เดินทางร่วมคณะกับเจ้าแม่จามเทวี
ประการที่ ๓ เป็นชาวมอญที่เดินทางเข้ามาในสมัยหริภุญไชยตอนต้น
                เมื่อคราวที่เมืองหริภุญไชยเกิดโรคระบาดในสมัยพญากมลราชหรือจุนเรละราช กษัตริย์ลำดับที่ ๒ แห่งจามเทวีวงศ์ ได้นำเอาประชาชนพลเมืองหนีโรคระบาดไปอยู่อาศัยที่หัวเมืองมอญในเมืองสุธรรมวดี (พะโค) กับเมืองหงสาวดีเป็นเวลาถึง 6 ปี เมื่อโรคระบาดสงบลงจึงได้นำประชาชนพลเมืองกลับคืนสู่หริภุญไชย ซึ่งอาจมีชาวมอญอพยพมากับคณะกลับหริภุญไชย ด้วยปรากฏหลักฐานศิลปะพระพุทธรูปแบบพุกามในรูปแบบของซุ้มพระรอดมหาวัน รวมทั้งการใช้อักษรมอญโบราณก็น่าจะได้รับเจ้ามายุคนี้มากกว่าครั้งมากับพระนางจามเทวี ด้วยหลักศิลาจารึกอักษรมอญโบราณก็เทียบอายุได้กับยุคนี้ทั้งสิ้น
 ประการที่ ๔ เป็นชาวมอญที่อพยพเข้ามายุครัตนโกสินทร์ตอนต้น
                เมื่อมอญถูกพม่ายึดอำนาจอย่างเด็ดขาดลุ่มน้ำอิระวดี ชาวมอจึงอพยพเข้ามาอยู่อาศัยในประเทศไทย อย่างไรก็ตาม ในชั้นนี้สมัยนี้ยังไม่ขอชี้ชัดส่งไปว่า มอญหนองดู่ “ มีความเป็นมาอย่างไร” ขอเป็นเพียงข้อสันนิษฐานเพื่อสร้างกระบวนการเรียนรู้กับนักวิชาการอีกหลายสาขาจนกว่าจะได้ข้อสรุปที่แน่นอนในอนาคตของ “ชุมชนโบราณชาวมอญบ้านหนองดู่” ต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น