ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

กลุ่มชาติพันธุ์มันนิ (ซาไก)




กลุ่มชาติพันธุ์มันนิ (ซาไก)

ถิ่นฐานที่ตั้ง
                อยู่ตามป่าในเขตรอยต่อเทือกของเขาบรรทัดที่ตำบลทุ่งนาที อำเภอป่าบอนและตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุงมีจำนวนประมาณ 80 คน เคลื่อนย้ายถิ่นฐานไปเรื่อย ฤ ในเขตป่า

ลักษณะของมันนิ (ซาไก)
                สีผิวดำน้ำตาบไหม้ รูปร่างเตี้ยเล็ก ผมหยิกม้วน เป็นรูปคล้ายกับหอยแนบตลอดศีรษะ หญิงจะมีผมยาวเป็นกระเชิง ปากกว้างน่อง เรียว ริมฝีปากหนา ฝ่าเท้าหนา มีฟันที่คงทนแข็งแรง

ดนตรีชาวซาไก
                ความเป็นมาดนตรีและนาฏศิลป์ชาวซาไก ยังเป็นลักษณะของดนตรีและนาฏศิลป์ระดับพื้นฐานอย่างง่าย ๆ ประดิษฐ์ขึ้นมาจากไม้ไผ่ตามแบบที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษแต่โบราณกาล เพลงที่ใช้ร้องก็มีไม่กี่เพลง เป็นเพลงสั้น ๆ ง่าย ๆ ไม่มีลีลาจังหวะที่เป็นแบบแผนแน่นอน โดยมากเป็นการเต้นให้เข้ากับจังหวะดนตรีตามใจชอบ

วิธีการแสดง
                เมื่อเล่นดนตรี นักดนตรีจะขนเครื่องดนตรีมานั่ง ล้อมวงกันที่บริเวณลานกว้างกลางหมู่บ้าน คนอื่นๆ ก็มานั่งล้อวง เช่นเดียวกัน กลางวงมีกองไฟไว้กองหนึ่งเพื่อให้แสงสว่างและมีนักร้อง เมื่อนักร้องจะร้องเพลงจะคลานออกจากวง เข้าไปอยู่ในกระโจมใบไม้ที่สร้างขึ้น แล้วโผล่หน้าออกมาส่งเสียงร้องเพลง พอร้องเพลงจบก็คลานออกจากกระโจมใบไม้มานั่งร่วมวงกับคนอื่นต่อไป

ความเชื่อ
                ในการประดิษฐ์เครื่องดนตรีและการเล่นเครื่องดนตรีชาวซาไกไม่มีความเชื่อใด ๆ เข้ามาเกี่ยวข้องเลย จะเล่นดนตรีกันเมื่อใดก็ได้

อุปกรณ์ / การเล่น
                เครื่องดนตรีของชาวซาไกจะประดิษฐ์ขึ้นมาจากไม้ไผ่อย่างง่าย ๆ เรียกกันว่า บาแตช
อาวุธ
                กระบอกตุด หรือบอเลา เป็นอาวุธที่มีประสิทธิภาพสูง พุ่งเร็ว รุนแรง เงียบ ใช้สำหรับการล่าสัตว์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น