ค้นหาบล็อกนี้

วันอาทิตย์ที่ 28 กันยายน พ.ศ. 2557

HMONG



                                                                           HMONG (MEO)
             The Meo call themselves "Hmong".  They are the most widespread minority group in south China. Today they live scattered in many provinces of mainland China, Vietnam, Laos and Thailand.  In Thailand, the number of Meo people is approximately 16.52 percent of all tribes in the country.   Their settlements are concentrated in 13 provinces, such as Chiang Mai, Chiang Rai, Nan, Phrae, Tak, Lampang, Phayao, Phetchabun,  Mae Hong Son.  Kamphaengphet, Phitsanulok, Loei and Sukhothai  Three sub-groups of are  found in Thailand:
1.              Blue  Hmong, which is also known as Black Hmong or Striped  Hmong.
2.              White Hmong, the women of which  wear a white  pleated skirt  during  ceremonial occasions and put on indigo-dyed trousers at work.
3.              Gua'm-ba Hmong who entered the country from Laos very recently and remain largely confined to refugee camps.
The Hmong family is extended and patrilineal. This has resulted from the Hmong's practice of polygamy marriages.  In social organization, the family stands as the most important basic unit of all affairs.  Beyond the family level, a clan serves as the centre for all  activities that mark their uniqueness and cooperation.
Hmong prefer to live at very high altitudes. They are primary shifting cultivators. They grow rice and corn as main crops for food supplies and grow opium as a cash crop. They are criticized for heavily engaging in opium production,  probably do so more than other tribes in Thailand.  
                The religion of the Hmong in Thailand is a combination of animism and shamanism with an emphasis on ancestor worship. The shaman has much influence on the villagers. He is their chief hope in crises, their only powerful doctor, and their guide in many actions where there is danger or doubt as to the outcome. It is no wonder, therefore, that families prefer to live where there are shamans. The shamans, likewise, prefer to live where there are clients

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

อาข่า



อาข่า (Akha)

อาข่า หรือ อีก้อ
                จัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาจีน-ธิเบต สาขาธิเบต-พม่า อพยพมาจากประเทศพม่าเข้ามาสู่ประเทศไทย เมื่อประมาณ 100 กว่าปี และกระจายตัวไปตั้งบ้านเรือนอยู่ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ และตาก มีประชากรประมาณ 68,653 คน หรือ ร้อยละ 7.43 ของประชากรชาวไทยภูเขาในประเทศไทย มีจำนวน 3 กลุ่ม
1.             อาข่าอุโล
2.             อาข่าโลมิซา หรือโลเม
3.             อาข่าหม่อโป๊ะ

ระบบเศรษฐกิจ
                ชาวอาข่าทำการเกษตรแบบไร้เลื่อนลอย ปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด เป็นพืชหลัก และปลูกงา ข้าวฟ่าง ถั่ว พริก ฯลฯ เป็นพืชรอง ในอดีต ปลูกฝิ่นเป็นเงินสด เลี้ยงหมู ไก่ เพื่อใช้ในพิธีกรรมและบริโภค เลี้ยงสุนัขไว้ล่าสัตว์ นอกจากนั้นกังเลี้ยงวัว ควาย ไว้บริโภคหรือขาย และเลี้ยงม้า ไว้ใช้งาน

ระบบความเชื่อ
                ชาวอาข่านับถือผี ในรอบปีมีพิธีกรรมของหมู่บ้านเกี่ยวกับการบูชาเซ่นไหว้ เลี้ยงผี หลายพิธี โดยมีหัวหน้าพิธีกรรมของหมู่บ้าน คือ “หยื่อมะ” เป็นผู้นำในพิธีกรรม

ประเพณีที่สำคัญ
                โล้ชิงช้า ปีใหม่ไข่แดง เล่นลูกข่าง พิธีเลี้ยงผีหมู่บ้าน

ลักษณะทางสังคมวัฒนธรรมตามจารีต
ขนาดหมู่บ้าน  หมู่บ้านโดยเฉลี่ยประมาณ 25 – 30 หลังคาเรือน บ้านมีทั้งแบบกึ่งคร่อมดิน และยกพื้น
ระบบครอบครัว / เครือญาติ  เป็นครอบครัวเดี่ยวและขยายโดย ขยายทางฝ่ายชาย คือเมื่อบุตรชายแต่งงานจะนำภรรยาเข้ามาอยู่ในบ้านของพ่อแม่ของตน ยึดถือระบบผัว / เมียเดียว การนับญาติจะให้น้ำหนักเครือญาติทางฝ่ายบิดาและมารดาเท่ากัน
ระบบการปกครอง  มีผู้นำ เรียกว่า “หยื่อมะ” และคณะบุคคลเรียกว่า “หนั่งเง่อ” เป็นที่ปรึกษาบริหารจัดการดูแล เป็นผู้ปกครองและตัดสินปัญหาต่าง ๆ ของหมู่บ้าน

ลาหู่




ลาหู่ LAHU
ประวัติการตั้งถิ่นฐาน
                ชนเผ่าลาหู่ มีถิ่นฐานเดิมอยู่ในประเทศธิเบต และเคยมีอาณาจักรเป็นของตนเองในดินแดนที่เรียกว่า “ดินแดนแห่ง 11 หัวหน้าชนเผ่า” โดยมีเมืองหลวงชื่อ “ลิเซียง กาซี” อยู่ในมณฑลยูนนวนของประเทศจีน ต่อมาได้ถอยลงสู่ประเทศพม่า ลาว และได้เคลื่อนย้ายเข้าสู่ประเทศไทย บางบ้านต้นน้ำแม่มาว ตำบลม่อนปิ่น อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ปัจจุบันมีการกระจายอยู่ใน 7 จังหวัดของประเทศไทย ได้แก่ จังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แม่ฮ่องสอน ตาก กำแพงเพชร และเพชรบูรณ์ มีจำนวนประชากรประมาณ 102,287 คน โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยได้แก่ ลาหู่ญี ลาหู่นะ ลาหู่เซเล ลาหู่ซีบาเกียว ลาหู่ซีบาหลา ลาหู่แฮะก๊าย ลาหู่ก๊าย ลาหู่ฟู และลาหู่กู่เลา เป็นต้น

ระบบครอบครัวและเครือญาติ
                ครอบครัวของชนเผ่าลาหู่เป็นครอบครัวขยายจะมีบ้างที่เป็นครอบครัวเดี่ยว มีหัวหน้าครัวเรือนเพียงคนเดียวและทุกคนจะต้องเชื่อฟังและเคารพต่อหัวหน้าครัวเรือน การนับญาตินั้นจะนับญาติทางสามีและภรรยาเข้าด้วยกัน

โครงสร้างการปกครองและสังคม
                โครงสร้างสังคมชนเผ่าลาหู่จะประกอบด้วย 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนที่หนึ่ง อาดอ (คะแซ) คือผู้นำหมู่บ้าน ส่วนที่สอง โตโบ คือ พระหรือนักบวช ทำหน้าที่สั่งสอนคนให้เป็นคนดี และส่วนที่สามสาหลี๋ คือช่างตีเหล็กมีหน้าผลิตเครื่องมือการเกษตร ชนเผ่าลาหู่เชื่อว่าหากหมู่บ้านใดไม่มี 3 ส่วนดังกล่าว ถือว่าเป็นหมู่บ้านที่ยังไม่สมบูรณ์ ไม่สามารถเป็นหมู่บ้านที่ใหญ่และมั่นคงต่อไปได้  ชนเผ่าลาหู่ให้ความนับถือผู้อาวุโสทั้ง 3 ส่วน นี้มากและทุกปีคนในหมู่บ้านทุกครัวเรือนจะไปทำงานให้ครอบครัวของผู้อาวุโสทั้ง 3 ส่วนนี้ เพื่อเป็นการตอบแทนที่ช่วยดูแลให้เกิดความสงบสุขในหมู่บ้านด้านการปกครองชนเผ่าลาหู่ จะใช้รูปแบบของจารีตประเพณี เช่น เมื่อมีการร้องเรียนหรือข้อพิพาทผู้นำหมู่บ้านจะเชิญหัวหน้าครอบครัวทุกหลังคาเรือนมาประชุมเพื่อชี้แจง ปรึกษาและตัดสินคดีข้อพิพาท

ความเชื่อ ประเพณี และพิธีกรรมต่าง ๆ
                ชนเผ่าลาหู่นับถือ (กื่อซา) กื่อซา คือพระเจ้าซึ่งมีความเชื่อว่า เป็นผู้สร้างสรรค์สิ่งที่ดีงามทั้งหลายในโลกนี้ เป็นผู้ที่ทำให้เรามีความสุขและบันดาลสรรพสิ่งต่าง ๆ ให้แก่เรา ถ้าหากเราทำผิดหรือทำสิ่งไม่ดีก็จะถูกลงโทษได้ แล้วยังมีผีเรือนและผีหมู่บ้านที่ล่าหู่นับถือ และเชื่อว่าผีเรือนจะทำหน้าที่ป้องกันภัยให้แก่คนในบ้าน สำหรับผีร้ายที่ลาหู่เกรงกลัวนั้นมีมากมายเช่น ผีฟ้า ผีป่า ผีเขาหลวง เป็นต้น

การทำมาหากิน และวิถีการผลิตพื้นบ้าน
                ในอดีต ชนเผ่าลาหู่ประกอบอาชีพการเกษตรเพื่อบริโภค พืชที่นิยมปลูกได้แก่ ข้าว ข้าวโพด งา และพริก เป็นต้น ระบบการทำไร่นั้นจะเป็นการทำไร่แบบหมุนเวียน ไร่หนึ่งผืนจะใช้ประโยชน์ประมาณ 3 ปี หลังจากนั้นจะทิ้งไว้ประมาณ 10 – 15 ปี แล้วหมุนเวียนกลับมาใช้ใหม่อีกครั้ง แต่ในปัจจุบัน เนื่องจากมีจ้อจำกัดในเรื่องที่ดิน จึงได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบ เป็นการผลิตที่มุ่งเน้นเพื่อการค้ามากขึ้น นอกจากนั้นแล้วยังมีการเลี้ยงสัตว์ไว้ใช้งานและใช้ประกอบในพิธีกรรมต่าง ๆ ได้แก่ ไก่ สุกร ม้า และวัว เป็นต้น

มรดกทางวัฒนธรรม
                ชนเผ่าลาหู่เป็นชนเผ่าหนึ่งที่มีมรดกทางวัฒนธรรมที่ดีงาม มากมายไม่แพ้เผ่าอื่น ๆ เช่น ภาษา การแต่งกาย วิธีการหาปลา หัตถกรรม ศิลปะการแสดงและดนตรี สิ่งที่โดดเด่น และเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปได้แก่ การเป่าแคน และเป็นที่รู้จักของบุคคลทั่วไปได้แก่ การเป่าแคน และการเต้น คือองค์ความรู้ภูมิปัญญาเหล่านี้ชาวลาหู่ได้มีการสืบทอดถ่ายทอดจากรุ่นสู่รุ่นผ่านกระบวนการเรียนรู้ตามวิถีชีวิต

ลาวครั่ง




ลาวครั่งบ้านกุดจอก
ตำบลกุดจอก อำเภอหนองมะโมง จังหวัดชัยนาท

ประวัติชุมชน
                ในปลายสมัยกรุงธนบุรีถึงสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นพบว่าคนไทยเชื้อสายลาวเผ่าต่าง ๆ ได้อพยพเข้ามาสู่ประเทศสยามด้วยสาเหตุต่าง ๆ ต่างยุคต่างสมัย บ้างก็อพยพหนีภัยสงครามทั้งภายในและภายนอกอาณาจักร หนีภัยธรรมชาติ โรคภัย ความอดอยากแร้นแค้น และที่อพยพมากที่สุด คือคราวอาณาจักรล้านช้างล่ม เป็นเหตุให้ชาวลาวหลายชนเผ่าต้องถูกกวาดต้อนเข้ามาอยู่บริเวณภาคกลางของไทย คนกลุ่มน้อยเหล่านั้นก็แยกกันอยู่ตามกลุ่มวัฒนธรรมย่อยของตน หนึ่งในนั้นก็คือ ลาวครั่งเป็นคนลาวมาจากเมืองหลวงพระบางเมื่อปี พ.ศ. 2427 ผู้นำกลุ่มลาวครั่ง ได้ย้ายถิ่นฐานจากบ้านเขากระจิว จ.กาณจนบุรี (ปัจจุบันคือ อ.อู่ทอง จ.สุพรรณบุรี) มายังบริเวณบ้านกุดจอกซึ่งแต่เดิมเป็นป่าได้ตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนอยู่บริเวณริมบึงที่มีดอกจอกขึ้นอยู่เต็มบึง ตามภาษาของชนกลุ่มนี้เรียกว่า “บึง” ว่า “กุด” จึงได้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านกุดจอก” โดยมีวัดเก่าแก่คู่บ้านกุดจอกเป็นศูนย์กลางของชาวบ้านก็คือ “วัดศรีสโมสร”
                หมู่บ้านกุดจอกแห่งนี้ ปัจจุบันมีชาวไทยเชื้อสายลาวครั้งอาศัยอยู่ประมาณ 200 หลังคาเรือน อาชีพหลักคือ เกษตรกรรม ทำนามีการอนุรักษ์วัฒนะธรรมประเพณีชนชาติลาวครั่งดั้งเดิมไว้ได้อย่างเหนียวแน่น มีกูมิปัญญาที่โดดเด่นคือ การทอผ้าซิ่นตีนจก ที่มีลวดลาเฉพระไม่เหมือนใคร การทอผ้าของที่นี่ใช้สีแดงที่ย้อมจากครั่งซึ่งเป็นสีแดงตามธรรมชาติที่โดดเด่นของเครื่องแต่งการอันเป็นที่มาของชื่อว่า “ลาวครั่ง”