ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

กะเหรี่ยงคอยาว



กะเหรี่ยงคอยาว

ประวัติความเป็นมา
                เป็นชนกลุ่มน้อยที่อาศัยอยู่ในพื้นที่จังหวัดแม่ฮ่องสอน มีอยู่ด้วยกัน 3 หมู่บ้าน คงไม่หลักฐานที่แน่ชัดว่า ได้อพยพเข้ามาอยู่ในแผ่นดินไทตั้งแต่ปี พ.ศ. ใด แต่ในช่วงนั้นมีสงครามเกิดขึ้นทนเมียนมาร์ หรือพม่า ระหว่างรัฐบาลกับชนกลุ่มน้อย กะเหรื่ยงคอยาวได้อพยพถิ่นฐานเข้ามาตามแนวชายแดน จนมาตั้งรากฐานที่บ้านน้ำเพียงดิน ที่หมู่บ้านนี้ จึงเป็นชุมชนกะเหรี่ยงคอยาวดั้งเดิมกลุ่มใหญ่ที่สุด จากนั้นก็มีการกระจายไปอยู่ที่หมู่บ้านในสอยและหมู่บ้านห้วยเสือเฒ่า

ศาสนาและความเชื่อ
                นับถือศาสนาพุทธจะควบคู่ไปกับการเชื่อเรื่องผีและสิ่งที่เหนือธรรมชาติทั้งปวง พวกเขาถือว่าหากทำให้ผีไม่พอใจ จะทำให้เกิดภัยอันตรายมาสู่คนในบ้านเรือนและชุมชน ดังนั้นจึงต้องมีการตั้งศาลที่บ้าน ที่ทุ่งนา ริมลำห้วย ในป่า เมื่อจะประกอบพิธีกรรมจะต้องมีการเสี่ยงทายด้วยกระดูกไก่ เพื่อหาฤกษ์ เช่นการปลูกบ้าน ถางไร่ หว่านเมล็ดพันธุ์ การเก็บเกี่ยว การล่าสัตว์ เป็นต้น

สาเหตุแห่งการใส่ห่วงคอ
                ในอดีตไม่มีการใส่ห่วงคอแต่อย่างใด จนกระทั้งสมัยหนึ่งเมื่อครั้งมีความเจริรุ่งเรืองสูงสุดได้เกิดมีฝูงเสือเข้ามาในชุนชนและได้เข้ากัดชาวบ้านล้มตายไปหลายคน คนที่ตายส่วนใหญ่จะถูกกัดที่คอและหลายคนถูกเสือกิน สร้างความวิตกและหวาดหวั่นให้กับชาวบ้านเป็นอย่างมาก ผู้นำหมู่บ้านซึ่งเป็นหมอผีในสมัยนั้นจึงได้ทำพิธีเซ่นไหว้ผีบ้าและกำหนดให้เด็กหญิงและหญิงสาวที่ยังไม่แต่งงาน โดยเฉพาะที่เกิดในวันเพ็ญทำพิธีเซ่นใส่ห่วงเป็นการแก้เคล็ดป้องกันเหตุร้ายที่เกิดขึ้น โดยใช้ทองคำตีเป็นห่วงพันรอบคออย่างที่เห็น แต่ในปัจจุบัน ใช้ทองเหลืองในการตีเป็นห่วง เนื่องจากทองคำมีราคาแพงนั่นเอง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น