ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

ตองเหลือง



ตองเหลือง (Mlabri)

ประวัติความเป็นมา
                มลาบรี หรือ ชาวตองเหลือง จัดอยู่ในกลุ่มภาษาออสโตร-เอเชียติค สาขามอญ-เขมร สันนิษฐานว่า มีถิ่นกำเนิดอยู่ในบริเวณแม่น้ำโขงในแขวงไชยบุรี ประเทศลาว ส่วนในประเทศไทย ในอดีตพบว่ากระจายอยู่ในจังหวัด เชียงใหม่ เชียงราย น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ และเลย
                ปัจจุบัน ชาวมลาบรีอาศัยอยู่ในจังหวัดแพร่ และน่าน มีประชากรประมาณ 280 คนเท่านั้น (2545) โดยกลุ่มที่อยู่ในจังหวัดแพร่ เป็นกลุ่มที่อยู่ภายใต้การดูแลให้ควรช่วยเหลือของคณะมิชชันนารี
                ชาวบ้านภาคเหนือ มักเรียกชื่อชนกลุ่มนี้ว่า (ผีตองเหลือง) เพราะมีพฤติกรรมเร่ร่อน เสาะหาแหล่งอาหาร โดยการล่าสัตว์ และเก็บของป่าตามที่ต่าง ๆ โดยสร้างเพิงพักมุงด้วยใบตองเป็นที่อยู่อาศัยในบริเวณแหล่งอาหาร ประมาณ 5-10 วัน เมื่อบริเวณนั้นมีอาหารไม่พอเพียง ก็ย้ายไปบริเวณอื่น เพื่อหาอาหารต่อไป

ลักษณะทางครอบครัว
                เป็นครอบครัวเดี่ยว มีขนาดครอบครัวประมาณ 3-6 คน หลังจากแต่งงานแล้ว มักจะแยกออกจากครอบครัวเดิมของตนไปตั้งครอบครัวใหม่ จะไม่มีการอยู่ร่วมชายคาเดียวกับพ่อแม่ ทั้งของฝ่ายหญิงหรือฝ่ายชายแต่อย่างใด
                ชาวมลาบรี แต่งงานนอกกลุ่ม (Exogamy) โดยไม่แต่งงานกับบุคคลในครอบครัวเดียวกัน และไม่แต่งงาน กับบุคคลที่เป็นเครือญาติ ยึดถือระบบผัว/เมียเดียว (Monogamy) การมีสามีหรือภรรยามากกว่าหนึ่งคนในเวลาเดียวกัน ถือว่า เป็นการกระทำที่ผิดผี ผิดจารัตประเพณี ถ้ามีการล่วงละเมิด ชาวมลาบรี เชื่อว่าสิ่งศักดิ์สิทธิ์ต่าง ๆ จะทำให้สัตว์ป่าและพืชผักอาหารต่าง ๆ ในป่าหมดไป ซึ่งจะนำความเดือดร้อนมาให้ชาวตองเหลือทั้งหมด

ระบบความเชื่อ
                ชาวมลาบรีส่วนใหญ่ มีการนับถือวิญญาณ และเซ่นสรวงผีบรรพบุรุษ ซึ่งเป็นผีผู้รักษาป่า ภูเขาและสำห้วยต่าง ๆ อันเป็นแหล่งอาหารหรือเส้นชีวิตของชนเผ่า

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น