ค้นหาบล็อกนี้

วันพุธที่ 24 กันยายน พ.ศ. 2557

อาข่า



อาข่า (Akha)

อาข่า หรือ อีก้อ
                จัดอยู่ในกลุ่มตระกูลภาษาจีน-ธิเบต สาขาธิเบต-พม่า อพยพมาจากประเทศพม่าเข้ามาสู่ประเทศไทย เมื่อประมาณ 100 กว่าปี และกระจายตัวไปตั้งบ้านเรือนอยู่ในจังหวัดเชียงราย เชียงใหม่ ลำปาง แพร่ และตาก มีประชากรประมาณ 68,653 คน หรือ ร้อยละ 7.43 ของประชากรชาวไทยภูเขาในประเทศไทย มีจำนวน 3 กลุ่ม
1.             อาข่าอุโล
2.             อาข่าโลมิซา หรือโลเม
3.             อาข่าหม่อโป๊ะ

ระบบเศรษฐกิจ
                ชาวอาข่าทำการเกษตรแบบไร้เลื่อนลอย ปลูกข้าวไร่ ข้าวโพด เป็นพืชหลัก และปลูกงา ข้าวฟ่าง ถั่ว พริก ฯลฯ เป็นพืชรอง ในอดีต ปลูกฝิ่นเป็นเงินสด เลี้ยงหมู ไก่ เพื่อใช้ในพิธีกรรมและบริโภค เลี้ยงสุนัขไว้ล่าสัตว์ นอกจากนั้นกังเลี้ยงวัว ควาย ไว้บริโภคหรือขาย และเลี้ยงม้า ไว้ใช้งาน

ระบบความเชื่อ
                ชาวอาข่านับถือผี ในรอบปีมีพิธีกรรมของหมู่บ้านเกี่ยวกับการบูชาเซ่นไหว้ เลี้ยงผี หลายพิธี โดยมีหัวหน้าพิธีกรรมของหมู่บ้าน คือ “หยื่อมะ” เป็นผู้นำในพิธีกรรม

ประเพณีที่สำคัญ
                โล้ชิงช้า ปีใหม่ไข่แดง เล่นลูกข่าง พิธีเลี้ยงผีหมู่บ้าน

ลักษณะทางสังคมวัฒนธรรมตามจารีต
ขนาดหมู่บ้าน  หมู่บ้านโดยเฉลี่ยประมาณ 25 – 30 หลังคาเรือน บ้านมีทั้งแบบกึ่งคร่อมดิน และยกพื้น
ระบบครอบครัว / เครือญาติ  เป็นครอบครัวเดี่ยวและขยายโดย ขยายทางฝ่ายชาย คือเมื่อบุตรชายแต่งงานจะนำภรรยาเข้ามาอยู่ในบ้านของพ่อแม่ของตน ยึดถือระบบผัว / เมียเดียว การนับญาติจะให้น้ำหนักเครือญาติทางฝ่ายบิดาและมารดาเท่ากัน
ระบบการปกครอง  มีผู้นำ เรียกว่า “หยื่อมะ” และคณะบุคคลเรียกว่า “หนั่งเง่อ” เป็นที่ปรึกษาบริหารจัดการดูแล เป็นผู้ปกครองและตัดสินปัญหาต่าง ๆ ของหมู่บ้าน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น